การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ป.5
บูรณาการเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา : นางประภาพร เอียดดำ
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน.บูรณาการเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่.21.สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่.5.มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพความต้องการในด้าน การใช้สื่อเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน บูรณาการเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่.21.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.4).ประเมินผลและปรับปรุงการใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่.5.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย.(Simple..Random..Sampling).ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน สภาพความต้องการในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21.สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 5) แบบประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ร้อยละ (Percentage)
ผลการวิจัยพบว่า
1..ข้อมูลพื้นฐาน สภาพความต้องการในด้านการใช้สื่อเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีพบว่านักเรียนต้องการนำสื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาด้านการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67.ด้านเทคนิควิธีการสอน พบว่านักเรียนต้องการให้ครูผู้สอนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.74 ด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่า นักเรียนมีความต้องการใช้เทคโนโลยี เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.85
2. รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ชื่อรูปแบบว่า “5 PRE Model”.ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน สาระความรู้ และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มี 7ขั้นตอนประกอบด้วย 1) ขั้นนำเสนอ (Presenting) 2) ขั้นการกำหนดปัญหาและจุดมุ่งหมาย (Problem) 3) ขั้นวางแผน (Planning) 4) ขั้นการลงมือปฏิบัติกิจกรรม (Practice) 5) ขั้นการเขียนรายงาน (Report) 6.ขั้นการนำเสนอ (Presentation) 7) ขั้นประเมินผล (Evaluate)
3. หลังทดลองใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ระดับดี
4. ผลการประเมินและปรับปรุงการใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐานบูรณาการเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการนำไปขยายผลกับนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ ปีการศึกษา 2563 พบว่า
4.1 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ระดับดี
4.2 ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก