LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทย
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางแสงระวี บู่ทอง
ปีที่วิจัย 2562

บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยตามความคิดเห็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยตามขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ 1) ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขั้นตอนที่ 3 ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7แผน 3) แบบทดสอบวัดทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทย จำนวน 1 ชุด มี 30 ข้อ และ ขั้นตอนที่ 4 คือแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชุด มีจำนวน 14 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยตามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเขาฉกรรจ์วิทยาคม โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย นักเรียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือต้องการให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่มและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม ครูควรกำหนดชิ้นงานให้นักเรียนได้ปฏิบัติในชั้นเรียนมีการประเมินผลชิ้นงานร่วมกัน จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยครูจะต้องมีการจัดเตรียมสื่อที่ใช้ใน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้พร้อมและเพียงพอกับผู้เรียน มีการใช้สื่อการเรียนการสอน
ที่หลากหลาย ครูต้องมีทักษะการตั้งคำถาม หรือใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมมากที่สุด ผลการศึกษาสภาพปัญหาเพื่อนำมาเป็นประเด็นในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยพบว่านักเรียนมีความเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบันให้นักเรียนได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้น้อย ปัญหาด้านการอ่านยังเป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่นักเรียนคิดว่าเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์
3) ขั้นตอนคือ (1) การเตรียมความพร้อม (Preparation : P) (2) การจัดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติ (Practise : P) มี 4 กิจกรรม ดังนี้ (2.1) ทบทวนความรู้เดิม (Review) (2.2) สร้างความเข้าใจ (Construct) (2.3) รับข้อมูล (Input) (2.4) สรุปความรู้จากการอ่าน (Conclude) และ 3) การวัดและประเมินผล (Evaluation : E) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน สำหรับงานวิจัยนี้ เรียกรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยย่อว่า PPE Model
    3) ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.38/80.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.2) ผลการศึกษาความสามารถทางการอ่านวรรณคดีไทยก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 20.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.63 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.20 ผลการทดสอบความสามารถทางการอ่านวรณณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการอ่านวรรณคดีไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.53 ,S.D. = 0.03)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^