LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การประเมินโครงการนิเทศภายใน

usericon

ชื่อเรื่อง        โครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562
ผู้รายงาน        นายฉลอง ภักดี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา
ปีที่รายงาน     ปีการศึกษา 2562

บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวน การชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 ทุกคน จำนวน 52 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 จำนวน 52 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครูผู้สอน จำนวน 10 คน และมีคำถามปลายเปิด จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .87 - .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

ผลการประเมินพบว่า

1.     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวน การชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.41,  = 0.15) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.43, S.D. = 0.14) ในระดับมาก เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวน การชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครูผู้สอนมีความเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย
( = 4.65, = 0.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.67, S.D. = 0.17) ในระดับมากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

    3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.75, = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่ 5 เรียนรู้สู่การสะท้อนผล มีค่าเฉลี่ย ( = 4.82,  = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 4 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา คือ ขั้นตอนที่ 6 ดลใจพัฒนาสู่ความยั่งยืน ( = 4.80,  = 0.32) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ ขั้นตอนที่ 1 รู้จักปัญหาศึกษาบริบท มีค่าเฉลี่ย ( = 4.67,  = 0.27) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
    4.     ผลการประเมินด้านผลผลิต
    4.1    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการนิเทศภายในโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professiomal Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพ (μ = 4.65,  = 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด (μ = 4.72,  = 0.25) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วมมีค่าเฉลี่ย (μ = 4.68,  = 0.27) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านทีมและเครือข่ายการเรียนรู้ (μ = 4.60,  = 0.28) ค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุดอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน    
    4.2    ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธาโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community)ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D. = 0.12) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยคุณภาพสูงสุด ( = 4.61, S.D. = 0.23) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาคือ ด้านการวางแผนและการเตรียมการจัดการเรียนรู้ ( = 4.56, S.D. = 0.20) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยคุณภาพต่ำสุด ( = 4.52,S.D. = 0.28) อยู่ในระดับมากที่สุดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.43 , S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย
( = 4.46 , S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมากที่เช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.4     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า ภาพรวมมีค่าเฉลี่ย(μ = 4.34,  = 0.24) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.5     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนวัดสีหราษฎร์ศรัทธา ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ย GPA ร้อยละ 3.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.6     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 5.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน


ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงพัฒนาการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
2.     ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21
2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^