LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านเขาโอน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ชื่อผู้รายงาน นายชาตรี ศรีเมือง
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาโอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านเขาโอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท เกี่ยวกับ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ความสอดคล้องและความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ ความพร้อมของอาคารสถานที่ ความเพียงพอของงบประมาณ และความเหมาะสมของปัจจัยในการดำเนินงาน ประเมินกระบวนการ ของโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการตามการบริหารด้วยวงจรคุณภาพ ประเมินผลผลิต ของโครงการเกี่ยวกับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินโครงการ รูปแบบ ที่ใช้ในการประเมิน CIPP Model ของ สตัฟเฟลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง กับการดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วยครู จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน
45 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 52 คน และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการหาค่าความตรงของเครื่องมือ (Validity) ใช้สูตร IOC หาค่า ความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถาม โดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha Co-efficient ตามสูตรของครอนบาค (Cronbach) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านบริบท อยู่ในระดับมากที่สุด
และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ ตัวชี้วัด ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการ ตัวชี้วัดความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ใน
ระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด คือ ตัวชี้วัดความพร้อมของผู้รับผิดชอบ ตัวชี้วัดความ พร้อมของอาคารสถานที่ ตัวชี้วัดความเพียงพอของงบประมาณ และตัวชี้วัดความเหมาะสมของปัจจัยใน การดำเนินงาน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการ อยู่ใน ระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ตัวชี้วัดการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการตามการบริหารด้วย วงจรคุณภาพ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก และ
ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัดคือ ตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1- 6 ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียนในการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของครูในการ
ดำเนินการโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนในการดำเนินการโครงการ ตัวชี้วัดและ ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินการโครงการ
5. ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมภายใน โรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านเขาโอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยประเด็น การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ประเด็นการประเมินอยู่ใน ระดับมาก 2 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^