รายงานโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ผู้รายงาน นายธีระพงษ์ ปานทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าเตียว
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ในการประเมินครั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 ทุกคน จำนวน 20 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้น ป.3 - ป.6 จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 5 คน และมีคำถามปลายเปิด จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .89 - .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ความต้องการจำเป็นในการดำเนินโครงการ ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้งสอง กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมินและเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x= 4.63 , S.D. = .25) อยู่ใสนระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวม 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่กลุ่ม ครู ( = 4.52 , σ = .21) อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนน 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และอาคารสถานที่ ความเหมาะสมของการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (µ = 4.49, σ =.39) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผน (P) การดำเนินการจัดกิจกรรม (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา (A) โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ประเมิน และเมินพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.67, σ =.47)อยู่ในระดับ มากที่สุด ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ นักเรียน (x= 4.58, S.D. = .50) อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x= 4.48, S.D. = .50) อยู่ในระดับ มาก ได้คะแนนรวม 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียวปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x= 4.66, S.D.= .48) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.65, = .49) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด เช่นกัน ( = 4.62, = .49) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับ มากที่สุด (x= 4.77, S.D.= .42) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู อยู่ในระดับ มากที่สุด (x= 4.65 , S.D.= .50)ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน และ นักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x= 4.60, S.D.= .50) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.3 ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของ ครูและผู้ปกครอง โดยภาพรวม ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.76, S.D.= .43) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.57, = .50) คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเตียว ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.81, S.D.= .39) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ของผู้ปกครอง อยู่ในระดับ มากที่สุด (x-bar= 4.80, S.D.= .40) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน ส่วน ของ ครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.80, = .40) เช่นกัน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะของนักเรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนบ้านป่าเตียว ควรนำรูปแบบ วิธีการและกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูล และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
4. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครู สู่คุณภาพผู้เรียน