การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คอมพิวเตอร์
เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางฐิตินันท์ สิริโชคเจริญ ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหัวเรื่อพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประส 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 3.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2 เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 2 หลังเรียนได้เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม กระทรวงมหาดไทย จำนวน 1 ห้อง จำนวน 29 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบสอบถามความพึงใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ได้ศึกษาปัญหาและข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานด้านการจัดการเรียนรู้ จากนักเรียนและครู ผู้เกี่ยวข้อง สำหรับนำไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการออกแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับขั้นตอน โดยใช้องค์ความรู้และแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการกำหนดขั้นตอนกิจกรมในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ให้ถูกต้องและเหมาะสมเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือ และมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย
อาศัยกรอบแนวคิดต้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Joyce Well and Calhoun จำนวน 6 องค์ประกอบได้แก่ (1) หลักการ แนวคิดทฤษฎีพื้นฐาน (2) วัตถุประสด์ของรูปแบบ (3) ขั้นตอนการงัดการเรียนผู้ (4) ระบบสังคม (5) หลักการตอบสนอง และ(6) ระบบสนับสนุน และกรอบกระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ออกแบบผ่านการตรวจสอบคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ การทดลองใช้กับกลุ่มนักเรียนที่เกี่ยวข้อง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีองศ์ประกอบสำคัญครบ 6 ประการ ดังนี้ 1 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2. วัตถุประสงค์ 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4.ระบบสังคม 5. หลักการตอบสนอง 6. ระบบสนับสนุน ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นเตรียม 2. ขั้นสอนและเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น 3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม 4. ขั้นทดสอบย่อบ 5. ขั้นสรุป
3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พบว่า 3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกของผู้เรียนก่อน และหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 11.52 คะแนน และ 23.97 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่าคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนะสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนรู้แบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย เท่กับ 44.66 คะแนน และ 74.76 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนะสอบหลังเรียนของผู้เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความคิดเห็นว่า รูปแบการเรียนรู้แบบนี้เป็นรูปแบบที่ดี ได้ทำงานกลุ่ม เป็นวิธีสอนที่ให้ทุกคนได้ร่วมมือกัน คนที่ไม่เก่งได้ทำงานกับคนเก่ง การฟังอธิบายจากเพื่อนทำให้กล้าซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ การทำงานกลุ่มเป็นสิ่งที่ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ได้ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ และทุกคนได้ร่วมมือกันในกลุ่ม และได้เรียนรู้จากต่างกลุ่มทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดที่หลากหลาย