LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสร

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะ
    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย    นางนิธิกานต์ ขวัญบุญ
    ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
    สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 12 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัด
ประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากการสํารวจสภาพปัจจุบันและความคาดหวังเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.87) และจัดเรียงลำดับรายด้านจากน้อยไปหามาก 3 ลำดับ ได้แก่ การนิเทศแบบร่วมมือ ( = 1.50) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ( = 249) และการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ( = 3.15)
ความคาดหวังเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านเรียงลำดับความคาดหวังจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศแบบร่วมมือ ( = 4.65) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ( = 4.61) การสร้างความสัมพันธ์ ( = 4.52) การกำหนด เป้าหมายร่วม ( = 4.51) การออกแบบการทํางานและการประเมินผล ( = 4.50) ตามลําดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และความคาดหวังต่อการพัฒนารูปแบบการนิเทศ การศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน และกระบวนการตรวจสอบยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปผล ดังนี้
รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการดําเนินงานของรูปแบบการนิเทศ (ARSIDE Model) ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ การกําหนดเป้าหมายร่วม (Analysis for Goal) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) การออกแบบการทํางาน (Styling) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Information) การนิเทศแบบร่วมมือ (Doing) และการประเมินผล (Evaluation) และ 4) ปัจจัยความสําเร็จ ประกอบด้วย การได้รับ การสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความต่อเนื่องในการนิเทศ การสร้างขวัญและกําลังใจต่อ ผู้ปฏิบัติ และความตระหนักในหน้าที่ของบทบาทที่ได้รับ
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสรุปว่า ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสูงขึ้น มีผลการนํารูปแบบไปใช้ดังนี้ คือ
3.1 ความสามารถของผู้นิเทศในการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์
ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับมาก ( = 3.97)
3.2 ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากที่สุด ( = 4.53)
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังนําไปใช้ พบว่า เมื่อนํารูปแบบการนิเทศ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับ มาก ( = 4.42)

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^