การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน)ที่ส่ง
ในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นางนิพัตรา แสงทอง
ปีการศึกษา : 2562
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์
(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (P4Ds Model) 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถ ในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ (P4Ds Model) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ที่มีต่อการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (P4Ds Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาล 1(บ้านในเมือง) จำนวน
40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนงานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดทักษะการปฏิบัติ แบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ศิลปะงานถักสาน ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที (t- test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ดำเนินการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ มีชื่อเรียกว่า “P4Ds Model” มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระหลัก สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการรับรู้ (Perception: P) 2) ขั้นการสาธิต (Demonstrate :D) 3) ขั้นการปฏิบัติ (Doing: D) 4) ขั้นการพัฒนา (Develop: D) 5) ขั้นแสดงผลงาน (Display: D) โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติ และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมานี้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.86/85.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์(ศิลปะงานถักสาน) ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้งานประดิษฐ์ (ศิลปะงานถักสาน)
ที่ส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด
( = 4.69, S.D = 0.39)
คำสำคัญ : รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ศิลปะงานถักสาน, ความสามารถในการปฏิบัติ, ความคิดสร้างสรรค์