การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้
ทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายสรยุทธ สิริเพ็ชร์
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D ) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งประเมินในสิ่งต่อไปนี้คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (t-test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่พัฒนาให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ มีความคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ และมีแบบแผน แต่สภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ยังใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยายให้ผู้เรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน การใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ และฝึกให้ผู้เรียนคิด แก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผลยังมีน้อย แนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งพิจารณาแล้วว่าแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ที่สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนจากการศึกษาค้นคว้าโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนได้มีทักษะเพิ่มมากขึ้น
2. ผลการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีชื่อเรียกว่า SO-SIRI Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เงื่อนไขในการใช้รูปแบบการสอน สิ่งสนับสนุน หลักการตอบสนอง และประเมินผล มีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นทำให้เข้าใจง่าย ชัดเจน (S : Simplify) 2) ขั้นรวบรวม ทำให้มีประสิทธิภาพ (O:Oiganise) 3) ขั้นฝึกทักษะ (S:Skill) 4) ขั้นพินิจพิจารณา (I : Introspect) 5) ขั้นรายงานผล (R : Report) และ 6) ขั้นสรุป (I : Inference) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.10/82.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลอง จำนวน 29 คน ได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน จากการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 12.31 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.00 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.93 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.10 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปรากฏว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังได้รับการสอนด้วยรูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (เฉลี่ย= 4.55, S.D. = 0.53) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดกิจกรรมในการเรียน และด้านการประเมินผล ในการเรียน รองลงมาคือ ด้านระยะเวลาในการเรียนและด้านบรรยากาศในการเรียน ตามลำดับ