LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การงานอาชีพและเทคโนโลยี ป.3

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและ
ทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์
เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่3
ผู้วิจัย      นางสาววรารัตน์ อิสมาแอล
สถานศึกษา    โรงเรียนระดิ่งหินประชาสรรค์ ตำบลพิมลราช อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ปีการศึกษา    2562

บทคัดย่อ
การเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มุ่งให้นักเรียนได้เรียนรู้และมีพัฒนาการตามจุดประสงค์การเรียนรูปที่แตกต่างกันในหลาย ๆ ด้านพร้อม ๆ กัน ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้าน ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาทักษะปฏิบัติ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ 4) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม ด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 34 คน ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนระดิ่งหินประชาสรรค์ อำเภอบางบัวทอง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่า ความเหมาะสมระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, S.D.= 0.47) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.64 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 3) แบบประเมินทักษะปฏิบัติ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.77 ถึง 0.85 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.87 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.75 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรูปมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการเลียนแบบ ขั้นที่ 3 ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง ขั้นที่ 4 ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ ขั้นที่ 5 ขั้นการแสดงออก ขั้นที่ 6 ขั้นการปรับปรุงและประยุกต์ใช้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.27/85.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.5647 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 56.47 ทักษะปฏิบัติของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ที่ได้เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติ ตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี อยู่ในระดับเกณฑ์คุณภาพดี โดยรวมมีค่าเฉลี่ย (x ̅ = 10.32, S.D. = 2.69)
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติต่อการเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅ = 2.52, S.D. = 0.58)
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมด้านทักษะปฏิบัติตามแนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานรูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซันและแฮร์โรว์ เรื่อง งานประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางด้านทักษะปฏิบัติ ดังนั้น จึงควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นอื่น ๆ ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^