LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม นักเรียน

usericon

เรื่องวิจัย    การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่)
        อำเภอวชิรบารมี    จังหวัดพิจิตร
ชื่อผู้วิจัย        นางสาวรัชดาภรณ์ นาคสวัสดิ์
ปีที่วิจัย        2563
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 นโยบายของโรงเรียน และความต้องการจำเป็นของโรงเรียน เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมเพียงพอของโครงการ เกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียน ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชน เพื่อประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการเกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผล และสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงานเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ด้านความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล ความกตัญญูกตเวที ความมีวินัย ความเสียสละ ความสามัคคี ความประหยัด การพึ่งตนเอง ความขยันหมั่นเพียร และความเมตตา เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน และเพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่มีต่อโรงเรียน ผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน ประชากรได้แก่ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูที่รับผิดชอบกิจกรรม คณะกรรมการติดตามและประเมินผลแต่ละกิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่) บุคลากรในชุมชนในเขตบริการของโรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่) จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( μ ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( σ ) ค่าความเชื่อมั่น (α)

ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการประเมินบริบทของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่) ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียน พบว่า วัตถุประสงค์ของกิจกรรมย่อยทุกิจกรรมกับนโยบายของกระทรวง นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ความต้องการและความจำเป็นของโรงเรียน มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
    2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นด้านความเหมาะสมและความพอเพียงเกี่ยวกับวิทยากร งบประมาณ ระยะเวลา สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ความสามารถของคณะทำงาน การสนับสนุนของฝ่ายบริหารโรงเรียนผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนแต่ละกิจกรรมย่อย พบว่า
        2.1 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร ในภาพรวมมีความเหมาะสมและพอเพียงอยู่ในระดับมากทุกรายการ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ
        2.2 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการทำความดี ในภาพรวมมีความเหมาะสมและพอเพียงอยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณาแยกเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีความเหมาะสมและพอเพียงในระดับมากสุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ รองลงมาคือการสนับสนุนของผู้ปกครองด้านงบประมาณและบุคลากรในโรงเรียนมีจำนวนเพียงพอ สามารถแบ่งหน้าที่รับผิดชอบโครงการนี้
        2.3 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ในภาพรวมมีความเหมาะสมและพอเพียง อยู่ในระดับมากทุกรายการ เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีความเหมาะสม และพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ รองมา คือ การสนับสนุนของผู้ปกครองด้านงบประมาณ
        2.4 ปัจจัยเบื้องต้นของกิจกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ในภาพรวมมีความเหมาะสม และพอเพียงอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีความเหมาะสม และพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุนและเป็นผู้นำโครงการ รองลงมา คือ สถานที่ดำเนินโครงการเพียงพอและเหมาะสม
    3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ตามความคิดเห็นบุคลากรภายในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้ากลุ่มสาระ ครูผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม และคณะกรรมการสถานศึกษา เกี่ยวกับความร่วมมือของคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องปฏิทินการปฏิบัติงาน บทบาทหน้าที่ ขั้นตอน จุดเด่น จุดด้อย การนิเทศติดตามผลและสิ่งที่ต้องแก้ไขในการดำเนินงาน ของกิจกรรมในแต่ละกิจกรรมย่อย พบว่า
        3.1 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร สรุปได้ดังนี้
            3.1.1 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ความร่วมมือของคณะทำงานตามโครงการ รองลงมา คือ การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดของระยะเวลา
            3.1.2 จุดเด่น จุดด้อย และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขของกิจกรรมการเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร คือ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนให้ความสนใจ วิทยากรสามารถแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์และสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดแก่นักเรียนได้ในหลายๆ ด้าน จุดด้อยของโครงการ พบว่า การไม่ต่อเนื่องในการปฏิบัติกิจกรรมหลังจากจบการเข้าค่ายแล้ว ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการติดตามการประพฤติปฏิบัติตนต่อที่บ้าน
        3.2 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการทำความดี สรุปได้ดังนี้
            3.2.1 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการทำความดี ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมาก เพื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุดคือ การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน รองลงมา คือ ความร่วมมือของคณะทำงานตามโครงการและความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้องของโครงการ
            3.2.2 จุดเด่น จุดด้อย และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขของกิจกรรมการทำความดี คือ เป็นกิจกรรมที่สามารถฝึกให้เด็กสามารถคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบแยกแยะได้ระหว่างความดีและความชั่วและสามารถปฏิบัติได้จนติดเป็นนิสัย จุดด้อยของโครงการ คือ ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสิ่งที่นักเรียนได้บันทึกมานั้นเป็นความจริงหรือไม่ ปรับปรุงแก้ไขโดยการหามาตรการในการตรวจสอบโดยการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการตรวจสอบหาหลักฐานในการบันทึกความดี
        3.3 กระบวนการดำเนินงานตามกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา สรุปได้ดังนี้
            3.3.1 กระบวนการดำเนินงานตามกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีระดับปฏิบัติมากที่สุด คือ การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน รองลงมา คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน
            3.3.2 จุดเด่น จุดด้อย และสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขของกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา คือ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจ เป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกในการสืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และนักเรียนได้ร่วมกิจกรรมร่วมกับบุคคลในชุมชนทำให้เกิดความคุ้นเคยกับเป็นอย่างดี จุดด้อย คือ การไปร่วมกิจกรรมที่วัดอาจทำให้นักเรียนเสียเวลาเรียนซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขโดยการนำนักเรียนไปทำกิจกรรมในวันหยุดหรือเสาร์ – อาทิตย์แทน
        3.4 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมการสร้างเสริมคุณธรรมประจำวันศุกร์ สรุปได้ดังนี้
            3.4.1 กระบวนการดำเนินตามกิจกรรมสร้างเสริมคุณธรรมประจำวันศุกร์ ระดับการปฏิบัติในภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอน รองลงมา คือ การประชุมวางแผน การดำเนินงาน และการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานชัดเจน
            3.4.2 จุดเด่น จุดด้อย และสิ่งที่ควรปรับปรุงของกิจกรรมการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมประจำวันศุกร์ คือ เป็นกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนได้ฝึกฝนการสวดมนต์ไหว้พระและทำสมาธิได้ในเวลาเดียวกัน และเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาจิตใจของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดด้อย คือ สถานที่ทำกิจกรรมเป็นอาคารเรียน เวลาทำสมาธินักเรียนจะร้อน ทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิเวลาที่ใช้ทำกิจกรรมเป็นเวลาเย็นก่อนกลับบ้านซึ่งก่อนทำกิจกรรมนักเรียนจะเล่นมากเกิดความอ่อนเพลียและเหนื่อยจากการเล่นทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อ และไม่มีสมาธิ ซึ่งปรับปรุงแก้ไขโดยการปรับเปลี่ยนเวลาทำกิจกรรมเป็นช่วงเวลาเช้าก่อนเข้าห้องเรียนในวันศุกร์ และจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่ให้เอื้อต่อการทำกิจกรรม ดังนั้น หลังจากมีการปรับเปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมแล้วทำให้นักเรียนมีความพร้อมและตั้งใจในการปฏิบัติกิจกรรมมากขึ้น
    4. ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
        4.1 พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน พบว่า
            4.1.1 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.2 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
            4.1.3 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีเหตุผลในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.4 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
            4.1.5 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความมีวินัยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.6 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรมเชิงจริยธรรมด้านความเสียสละในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.7 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความสามัคคีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.8 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านการประหยัดในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.9 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านการพึ่งตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.10 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความขยันหมั่นเพียร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
            4.1.11 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความเมตตาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
        4.2 ความพึงพอใจของ ผู้ปกครองนักเรียนบุคลากรในโรงเรียนและชุมชนที่มีต่อโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่) ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกย่อยเป็นรายการแล้ว พบว่า รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดกิจกรรมการเข้าค่ายอบรมพุทธบุตร รองลงมา คือ การนำกิจกรรมในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน
    5. ผลการประเมินผลกระทบการดำเนินงานของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวชิรบารมี(ต้นประดู่) ที่มีผลต่อโรงเรียน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ทั้ง 6 ด้านในโรงเรียน คือ ด้านการบริหาร ด้านจัดสภาพแวดล้อม ด้านการสอนและการนิเทศ ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน และด้านการประเมนผลทางคุณธรรมจริยธรรม ในภาพรวมมีผลกระทบอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหาร รายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ มีการกำหนดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนอย่างชัดเจนในปีปฏิบัติงานประจำปีของโรงเรียน ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ มีการให้ความรู้แก่ครูในด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ด้านการจัดสภาพแวดล้อมรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ มีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนา วัฒนธรรมประเพณีต่างๆ ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ มีการจัดเอกสารตำราและแบบเรียนที่มีเนื้อหาในด้านส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนไว้ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าอย่างเพียงพอ ด้านการสอนและการนิเทศ รายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ การเรียนการสอนของโรงเรียนมีทิศทางที่เน้นบูรณาการ โดยครูผู้สอนสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรมจริยธรรมในทุกสาระวิชาที่สอน ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ ครูผู้สอนใช้สื่อประกอบการสอนและเชิญบุคคลในท้องถิ่นที่มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นเป็นวิทยากรพิเศษให้กับนักเรียนในโอกาสที่เหมาะสม ด้านการจัดกิจกรรมนักเรียน รายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ นักเรียนไปร่วมกิจกรรมทางศาสนากับชุมชนด้วยความเต็มใจ ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ เชิญชวนผู้ปกครองร่วมกิจกรรมวันสำคัญกับโรงเรียนและวัดอย่างสม่ำเสมอ ด้านความสัมพันธ์กับชุมชน รายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียน ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ หน่วยงานของรัฐและเอกชนให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน ด้านการประเมินผลงานทางคุณธรรมจริยธรรม รายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงที่สุด คือ การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนประสบความสำเร็จส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนรายการที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำที่สุด คือ นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมคุณธรรมจริยธรรมไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^