รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย นายยุทธนา วังเพ็ชร์
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส 2) เพื่อทราบองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และ 3) เพื่อทราบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบการบริหารการ เปลี่ยนแปลงกับองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์องค์ประกอบความสัมพันธ์และพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบและยืนยันรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย โรงเรียนเทศบาลสังกัดเมืองสุไหงโก-ลก จำนวน 4 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 14 คน หัวหน้างาน จำนวน 16 คน และหัวหน้าสายชั้น จำนวน 33 คน รวมทั้งสิ้น 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส มีจำนวน 4 องค์ประกอบ โดยเรียงตามน้ำหนักองค์ประกอบที่ได้จากมากไปหาน้อย คือ 1) คุณลักษณะ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) ภาวะผู้นำ 4) วิสัยทัศน์
1.1 องค์ประกอบที่ 1 “คุณลักษณะ” จำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ 58 ตัวแปร
มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) อยู่ระหว่าง 505-738 มีค่าโอเกน 123.921 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสม ได้ร้อยละ 65.22 และหลังจากหมุนแกนองค์ประกอบ ได้ค่าโอเกน 40 253 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 21.186 เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 1
1.2 องค์ประกอบที่ 2 “แรงบันดาลใจ มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ 51 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) อยู่ระหว่าง 572-830 มีค่าไอเกน 3.893 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสม ได้ร้อยละ 67.270 และหลังจากหมุนแกนองค์ประกอบได้ค่าโอเกน 36.028 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 18.962 เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2 และจัดเรียงลำดับตัวแปรตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ได้ดังนี้
1.3 องค์ประกอบที่ 3 “ภาวะผู้นำ” มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ 13 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) อยู่ระหว่าง 529-712 มีค่าโอเกน 2.426 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 68.547 และหลังจากหมุนแกนองค์ประกอบได้ค่าไอเกน 19.895 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 10.471 เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 และจัดเรียงลำดับตัวแปรตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading ) ได้ดังนี้
1.4 องค์ประกอบที่ 4 “วิสัยทัศน์” มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ 5 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) อยู่ระหว่าง 514-590 มีค่าไอเกน 2.156 ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนสะสม ได้ร้อยละ 69.682 และหลังจากหมุนแกนองค์ประกอบได้ค่าโอเกน 14.214 สามารถอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 7.481 เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 3 และจัดเรียงลำดับตัวแปรตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ได้ดังนี้
2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่ารูปแบบการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารการ เปลี่ยนแปลงกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส พบว่า องค์ประกอบด้าน คุณลักษณะ มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบด้านวิสัยทัศน์ โดยผ่านองค์ประกอบด้านแรงบันดาลใจ องค์ประกอบด้านการเปลี่ยนแปลงทุกองค์ประกอบ ไม่มีอิทธิพลต่อการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และยืนยันพบว่ารูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และใช้ประโยชน์ได้จริง
4. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารการเปลี่ยนแปลงกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) คุณลักษณะ 2) การสร้างแรงบันดาลใจ 3) ภาวะผู้นำ 4) วิสัยทัศน์ และองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรตามคือ 5) การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองของโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส