ายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา
เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ผู้ศึกษา นางสาวเบญจวรรณ จินา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล
จังหวัดสตูล
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการจัด การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 18 แผน 2. แบบฝึกเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 18 แบบฝึก 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3 ข้อ และ 4. แบบประเมินความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t – test (dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.76/81.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะเรื่อง การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ร่วมกับ การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมาก