การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระกา
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑
(วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ชื่อผู้วิจัย นางสาวเบญจวรรณ จินา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล
จังหวัดสตูล
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแหล่งข้อมูลเอกสารและบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนิยาม ความสามารถ พฤติกรรมบ่งชี้ และแนวทางการพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development : D) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Design and Develop : D1, D2) ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research : R) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Implement : I) ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development : D) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Evaluation : E) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดสตูลสันตยาราม) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 15 แผน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตร (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 แสดงว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคุณภาพ มีความเหมาะสมในการนำไปทดลองใช้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ แบบทดสอบการอ่านจับใจความ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอน (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 ดำเนินการเก็บข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P)
2. ขั้นนำเสนอเนื้อหา(Presentation : P)
3. ขั้นฝึกทักษะ (Practice : P)
- ขั้นการฝึกทักษะโดยการชี้แนะ (Guided Practice)
- ขั้นการฝึกทักษะโดยกิจกรรมกลุ่ม (Group Practice)
- ขั้นการฝึกทักษะอย่างอิสระ (Indepedent Practice)
4. ขั้นการประเมินผล( : E)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.80) และความคิดเห็นของครูต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลประเมินโดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.73 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.20 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา การอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านจับใจความ เพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่าน
จับใจความภาษาไทย สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า คะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.56 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.85 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 24.52 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 81.73 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย
2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการอ่านจับใจความที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก