รายงานการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวนันท์นภัส มงคลสังข์
ปีการศึกษา : 2563
บทคัดย่อ
รายงานการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยจำแนกรายด้าน 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ภาครียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สังกัดเทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sample) โดยผู้วิจัยได้ทำการเลือกห้องเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 (5-6 ปี) ซึ่งเป็นห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และแบบสังเกตพฤติกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 แบบแผนการวิจัยเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Research and development) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ t-test for dependent
ผลการวิจัย พบว่า
1. เปรียบเทียบผลก่อนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เด็กปฐมวัย มีพฤติกรรมอยู่ในระดับน้อยทุกด้าน เรียงตามลำดับ คือ ด้านคุณธรรม ( x-bar 1.33, x-bar 0.00) ด้านรู้จักพอประมาณ ( x-bar
1.29, x-bar 0.26) ด้านมีเหตุมีผล ( x-bar 1.27, x-bar 0.17) ด้านมีภูมิคุ้มกัน ( x-bar 1.20, x-bar 0.20) และด้านความรู้ ( x-bar 1.09, x-bar 0.15) ตามลำดับ แต่หลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม ( x-bar 2.91, x-bar 0.18) ด้านความรู้ ( x-bar 2.88, x-bar 0.19) ด้านมีภูมิคุ้มกัน ( x-bar 2.85, x-bar 0.22) ด้านมีเหตุมีผล ( x-bar 2.74, x-bar 0.27) และด้านรู้จักพอประมาณ ( x-bar 2.68, x-bar 0.24) ตามลำดับ
2. เปรียบเทียบผลหลังจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมด้านรู้จักพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ และมีคุณธรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01