LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) (PIER Model)
ผู้วิจัย    กาญจนา จันทมัตตุการ
ปีที่วิจัย    2562

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) (PIER Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียน 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 4) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ซึ่งขั้นตอนที่ 1 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การศึกษาสภาพการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแนวการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ซึ่งขั้นตอนที่ 2 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การยกร่างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และการตรวจสอบคุณภาพร่างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ซึ่งขั้นตอนที่ 4 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การประเมินผลการใช้รูปแบบ การประเมินผล การบันทึกติดตามการดำเนินงาน และการประเมินผลสะท้อนการใช้รูปแบบ โดยประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการวิจัยผสานวิธี (Mixed-method) เพื่อยืนยันผลการวิจัย
    ผลการศึกษาขั้นตอนที่ 1 ผลการศึกษาการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู พบว่า การสร้างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ได้องค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ทักษะการคิดวิเคราะห์ วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ขั้นตอนที่ 2 ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามแนวคิด 7’s McKinsey และการบริหารคุณภาพ วงจรเดมมิ่ง (Deming cycle) ในการสร้างรูปแบบ ในการตรวจสอบหาคุณภาพ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ร่างรูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ได้มีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ จนมีความเหมาะสมก่อนนำไปทดลองใช้จริง ขั้นตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบ ซึ่งขั้นตอนที่ 3 ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ผลการจัดทำคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบ พบว่า ผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่างและทีมงานวิชาการของโรงเรียนสามารถใช้คู่มือเป็นกรอบการดำเนินการในขั้นตอนการทดลองใช้รูปแบบได้อย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพ และผลการทดลองใช้รูปแบบจากการบันทึกติดตามการดำเนินงานในการบริหารรูปแบบ พบว่า โรงเรียนมีการบริหารรูปแบบโดยวางระบบบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูกลุ่มตัวอย่าง โดยสร้างทีมวิชาการของโรงเรียนทำหน้าที่ติดตาม ให้คำแนะนำช่วยเหลือในกิจกรรมพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ของครู ตลอดระยะเวลาการทดลอง พร้อมรายงานผลเพื่อบันทึกกิจกรรม สภาพการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงของครูที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง ขั้นตอนที่ 4 ผลการประเมิน การใช้รูปแบบ จากการประเมินโดยกลุ่มตัวอย่าง ครูจำนวน 48 คน พบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบในด้านองค์ประกอบที่ 1 การบริหาร องค์ประกอบที่ 2 วิธีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู องค์ประกอบที่ 3 ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความเป็นประโยชน์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก (x ̅ = 4.21) จากการประเมินผลการบันทึกติดตามการดำเนินงาน ซึ่งติดตามโดยทีมงานวิชาการ พบว่า รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครู ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูสูงขึ้น และจากการประเมินผลสะท้อนการใช้รูปแบบโดยการวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนกับครูกลุ่มตัวอย่างระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบที (T-Test) พบว่า คะแนนผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากการประเมินทั้งสามแหล่งข้อมูล ผลการประเมินสามารถยืนยันได้ว่ารูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจริง
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^