LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียน

usericon

หัวข้องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียน การสอนโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ของสาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาล
นครปฐม
ผู้วิจัย     นายจเด็ด ปลื้มสุดใจ
ปีการศึกษา     2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบฯ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิทางโครงสร้างเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ จำนวน 3 คน และครูสาขาวิชาช่างยนต์ จำนวน 3 คน และนักเรียนระดับ ปวช. สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของร่างต้นแบบรูปแบบ แบบประเมินความสามารถในการจัดทำนวัตกรรมด้าน การประหยัดพลังงาน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลวิจัย ดังนี้

1. สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ พบว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐมให้ความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ดีพอสมควร ครูมีความรับผิดชอบ และจัดกิจกรรมได้หลากหลาย และสาขาวิชาช่างยนต์ควรสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าไปมีส่วนร่วมให้มากที่สุดตามความสามารถและความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ในชีวิตประจำวัน เห็นด้วยกับแนวคิดการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงาน เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวม และเป็นการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนได้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนจะได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีม และสามารถปลูกฝังค่านิยมเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานให้แก่นักเรียนได้ ควรเน้นการให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาในด้านโครงสร้างของเครื่องยนต์ และระบบเครื่องยนต์เป็นสำคัญ ควรส่งเสริมให้จัดส่งทีมเข้าร่วมโครงการแข่งขันรถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงในระดับประเทศด้วย ส่วนขั้นตอนการดำเนินงานสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงาน อย่างน้อยควรมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นวางแผนงาน ขั้นการปฏิบัติงาน และขั้นการประเมินผล ควรกำหนดเป็นโครงการของวิทยาลัย เพื่อให้มีงบประมาณเข้ามารองรับการดำเนินงานของนักเรียนนักศึกษา และควรเน้นย้ำเรื่องการประหยัดในการสร้างชิ้นงานของแต่ละทีม
2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ พบว่า รูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ได้แก่ หลักการ และวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ได้แก่ ขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้น (PPDE Model) คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ (Preparing phase = P) ขั้นที่ 2 การวางแผนงาน (Planning phase = P) ขั้นที่ 3 การดำเนินงาน (Doing phase = D) และขั้นที่ 4 การประเมินผล (Evaluating phase = E) 3) องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุน รูปแบบมีค่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ค่าความเป็นไปได้ และค่าความสอดคล้องและเหมาะสม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้รูปแบบ พบว่า รถประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงไม่มีข้อบกพร่องและสามารถวิ่งจับสถิติได้ ผลจากการทดสอบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเป็นไปตามที่คาดหมาย เวลาที่ใช้ในการแข่งขันไม่เกินเวลาที่กำหนด โดยสามารถได้รับถ้วยรางวัลประเภทสถิติสูงสุดสามสิบอันดับแรก จากผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมดกว่า 500 ทีมแข่ง จากบริษัทเอ.พี ฮอนด้า จำนวน 2 รางวัล ผลการประเมินความสามารถในการจัดทำนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) ในภาพรวม เห็นด้วยในระดับมากที่สุด
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม พบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดเล็กน้อย ซึ่งได้ปรับปรุงจนครบถ้วน จนได้รูปแบบการสร้างนวัตกรรมด้านการประหยัดพลังงานของการเรียนการสอนโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (SBMLD) สาขาวิชาช่างยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ฉบับสมบูรณ์ที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมในการขยายผลและเผยแพร่ต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^