การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเ
ผู้วิจัย วารุณี รักษา
โรงเรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 8 (พัทธยานุxxxล) สังกัดสำนักการศึกษาเมืองพัทยา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปที่ 3 2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 จำนวน 34 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที
สรุปผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการสอนวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ปัญหาการจัดการเรียนการสอนนั้น ครูยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิควิธีสอน กระบวนการสอนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จึงส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า GDCFI Model มีขั้นการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความสนใจ (Generate interest : G) 2) สงสัยค้นหา (Doubt search : D) 3) นำพาขยายความ (Clarify : C) 4) ติดตามประเมินผล (Follow up and evaluate : F) 5) แยบยลบูรณาการ (Integration)
3. เมื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
3.1 นักเรียนมีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะแสวงหาด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 4mat ที่มีต่อความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก