การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS)
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 1/2563
โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก
ผู้วิจัย : นายศิริสิทธิ์ จุลนัน
การวิจัยนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก จำนวน 26 คน โดยรูปแบบในการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียน 2) แบบทดสอบหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่า t-test และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยี สารสนเทศอย่างปลอดภัย วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก ด้านผลสัมฤทธิ์ พบว่าผลผลจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ในรายวิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ การทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) มีผลการทดสอบ เฉลี่ย 9.76 คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.8 ของคะแนนเต็ม และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ (S.D.=1.34) การทดสอบหลังเรียน (Post=test) มีผลการทดสอบ เฉลี่ย 17.27 ถือว่าผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.35 ของคะแนนเต็ม และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ (S.D.=1.15) จากผลการทดสอบข้างต้นพบว่า ผลการทดสอบหลังเรียน (Post-test) สูงกว่าผลการทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เฉลี่ย 7.69 คะแนน องจาก t คำนวณ = 8.76 มากกว่า t ตาราง =1.71 ดังนั้น จึงปฏิเสธ H0 ยอมรับ H1 นั้นคือ สะท้อนผลว่า หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก นี้ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 15 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการทดสอบหลังเรียนในระดับผ่าน (เกินร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม) รวมจำนวนทั้งสิ้น 26 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
2) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีความรับผิดชอบ วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก จากการตอบแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 จำนวน 26 คน พบว่าระดับความพึงพอใจในภาพรวมเฉลี่ยที่ 4.62 เมื่อเทียบตามระดับคุณภาพที่ระบบในแบบประเมินพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงสูดเฉลี่ย 4.74 คือ ด้านรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน รองลงมาคือ ด้านภาพรวมของชุดกิจกรรม มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 4.69 และด้านรูปแบบและเนื้อหา มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยที่ 4.43 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาจากผลการตอบแบบประเมินความพึงพอใจในทุกประเด็นประเมินเมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยพบว่า อยู่ในระดับ มากที่สุด ทุกประเด็นการประเมิน