การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา
โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา จำนวน
5 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา จำนวน 19 แผนการจัดการเรียนรู้
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ และ4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL
เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.65/81.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบ ILEC MODEL สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน เท่ากับ 9.71 คิดเป็นร้อยละ 24.27 และได้คะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน 33.55 คิดเป็นร้อยละ 83.87
3) นักเรียนมีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการเรียนรู้
แบบ ILEC MODEL เรื่อง สมบัติของวัสดุรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.63 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด