LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็น

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ
ในศตวรรษที่ 21
ผู้วิจัย นายอวยชัย ปัจจัยมงคล
สถานศึกษา โรงเรียนขามป้อมพิทยาคม อาเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
และความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และวิธีการ
เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อสร้าง
และพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษ
ที่ 21 4) เพื่อประเมินความคิดต่อการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนา
ความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
จานวน 5 คน เพื่อยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวชี้วัดของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม
และความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ได้จากการศึกษาเอกสาร ระยะที่ 2
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม ปีการศึกษา 2561 จานวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จากครูในสังกัด 20 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ระยะที่ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ
ผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต้นแบบ จานวน 4 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์
อาจารย์ในสถานบันอุดมศึกษา ได้มาโดยคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 9 คน
และกลุ่มเป้าหมาย เป็นข้าราชการครูโรงเรียนขามป้อมพิทยาคม ที่สมัครเข้าร่วมโรงเรียนจานวน 5 คน
ระยะที่ 4 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม จานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน
โปรแกรม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูทั้งหมด 6 องค์ประกอบ ได้แก่
ตีความบริบท การสร้างแนวคิด ความร่วมมือกับผู้อื่น การสะท้อนแนวคิด การนาเสนอแนวคิด และ
การประเมินความสาเร็จ ส่วนองค์ประกอบของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 มี 3 องค์ประกอบ
ได้แก่ การปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพ ภาวะผู้นาทางวิชาการและบริหารจัดการ และประสิทธิผล
ส่วนบุคคล มีผลการประเมินองค์ประกอบจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในเกณฑ์ระหว่าง 0.60-1.00 หมายความ
ว่าใช้ได้ทุกองค์ประกอบ
2. สภาพปัจจุบันของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.21 และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 สภาพปัจจุบันของความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีค่าเฉลี่ย
อยู่ในระดับมาก (  =3.76) และสภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด (  =4.55)
3. โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพใน
ศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบดังนี้คือ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการพัฒนา และ
การประเมินผล ผู้วิจัยได้ออกแบบเนื้อหาของโปรแกรมโดยเน้นเนื้อหาตามค่าดัชนีความต้องการจาเป็น
ที่มีความต้องการอันดับแรก คือ ความร่วมมือกับผู้อื่น (Collaborate) และต้องการปฏิบัติตนตาม
มาตรฐานวิชาชีพเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ วิธีการพัฒนาโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง
วิชาชีพ (PLC) ประกอบด้วย การฝึกอบรม การใช้ระบบพี่เลี้ยง และการนิเทศ ผลการประเมิน
โปรแกรมพัฒนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับ
การพัฒนาด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษ
ที่ 21 มีคะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับน้อย (  =1.79) ภายเข้าร่วมการพัฒนาผ่านไป
4 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก (  =4.40) หมายความว่า
กลุ่มเป้าหมายได้นาหลักการและแนวคิดจากการพัฒนานาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้สาหรับผู้เรียน
4. ครูผู้สอนของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม มีความคิดเห็นต่อ
โปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 โดยรวม
อยู่ในระดับมาก (  =4.34)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^