LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบ

usericon

หัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่
เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
(Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมการจัดทำโครงงานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
วิทยาศาสตร์เรื่อง พลังงานความร้อน ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย ไพรินทร์ สุขโข
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นลักษณะของการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและประเมิน
ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้าง
ทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้
โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการ
เรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ดังนี้(1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
เรื่อง พลังงานความร้อน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้(2) ประเมินความสามารถในการจัดทำโครงงาน
หลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (3) ประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ
การจัดการเรียนรู้และ (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างคือ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2562โรงเรียนเทศบาลวัดโชค (ธรรม
เสนานีวรคุณ) สังกัดเทศบาลเมืองโพธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีจำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัยประกอบด้วย 1) ประเด็นสนทนากลุ่มกับนักเรียน 2) ประเด็นสนทนากลุ่มกับครูวิทยาศาสตร์3)
แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน 5) แบบประเมินความสามารถในการจัดทำโครงงาน 6) แบบ
ประเมินความสามารถด้านทักษะกระบวนการ และ 7) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา
ค่าสถิติร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (
X
) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ของนวัตกรรม
การหาค่าทีแบบไม่อิสระ (t - test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. การพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
ร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการ
จัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่
กำหนด 80/80 ปรากฏผล ดังนี้
1.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า
ความคิดเห็นของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ให้ประสบความสำเร็จคือ ครูควรมีการตั้งคำถาม
ถามโดยใช้คำที่ง่ายต่อการเข้าใจ มีการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรมมากกว่าการบรรยาย โดยมีสื่อ
เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เพียงพอ ครูควรกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม และอนุญาตให้นักเรียนใช้
เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลขณะเรียนได้ ควรมีขนาดห้องเรียนขนาดใหญ่ มีพัดลม แสง ที่เพียงพอ ครูมี
ความเป็นกันเองกับนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเมื่อเกิดข้อสงสัยได้และใช้สื่อหลากหลายที่มีทั้ง
ภาพและเสียง ครูมีการจัดการเรียนรู้โดยการทดลองหรือโครงงานอย่างเป็นระบบ มีการประเมินผลในระหว่าง
และหลังการจัดการเรียนรู้และแจ้งให้นักเรียนทราบความก้าวหน้า และข้อบกพร่องของตนเอง วิธีการประเมิน
คือ ประเมินกิจกรรมกลุ่ม ภาระงาน ถาม-ตอบ แบบทดสอบ ในขณะที่ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า
องค์ประกอบของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ที่เน้น
โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative
Learning) มีความเหมาะสม มีหัวข้อและรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ของการจัดการ
เรียนรู้และภาพของโมเดลมีความเชื่อมโยงในแต่ละขั้นตอน กระบวนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและมี
ความต่อเนื่องสอดคล้องกัน การจัดการเรียนรู้นำไปสู่การพัฒนาความคิดขั้นสูงได้ การนำสื่อและเทคโนโลยี
ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามร่างรูปแบบมีความเหมาะสม วิธีการประเมินผล สามารถเสริมสร้างความสามารถ
ในการจัดทำโครงงานและความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียนได้และเห็นด้วยกับการนำรูปแบบ
การจัดการเรียนรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความเห็นว่า
ด้านเนื้อหาสาระที่เหมาะสมในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ควรเป็นเนื้อหาตามหลักวิชาการที่ตรงตาม
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของหลักสูตร นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้
เห็นด้วยกับการเน้นการสอนโดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ โดยขอให้เปิดโอกาสให้
นักเรียนเป็นผู้คิดเกี่ยวกับโครงงานเอง และใช้สื่อการสอนที่สนองต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่เป็นรูปธรรมได้
ส่วนองค์ประกอบของรูปแบบควรมีทั้งองค์ประกอบเชิงโครงสร้าง องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และควร
กำหนดเงื่อนไขในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ ด้านแผนการจัดการเรียนรู้ควร
แยกเนื้อหาออกเป็นเรื่องย่อย ๆ มี ใบความรู้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน การวัดผลและประเมินผล ควรมีทั้ง
แบบทดสอบ และแบบสังเกตพฤติกรรม
1.2 ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1)
องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ประกอบด้วย หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และวัตถุประสงค์2) โครงสร้างเชิง
กระบวนการ ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้(SCASAEK Model) ซึ่งมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้น
กระตุ้นผู้เรียน (Stimulation) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction) ขั้นที่ 3 ขั้นวิเคราะห์และลงข้อสรุป
(Analysis and Summarization) ขั้นที่ 4 ขั้นประยุกต์ใช้ (Application) ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล
(Evaluation) ขั้นที่ 6 ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) และการวัดและประเมินผล และ 3)
เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ
1.3 ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบฉบับร่างมีค่าความ
สอดคล้องเชิงโครงสร้างและกระบวนการด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ค่าความเป็นไปได้และค่าความ
เหมาะสมและสอดคล้องของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหา
ความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้
(Cooperative Learning) มีค่าเท่ากับ 80.48/80.67
2. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิค
การสืบเสาะหาความรู้ที่เน้นโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) และการจัดการเรียนแบบ
ร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) พบว่า
2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พลังงานความร้อน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการจัดทำโครงงานหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใน
ภาพรวม นักเรียนมีความสามารถในการจัดทำโครงงานอยู่ในระดับสูง
2.3 ความสามารถด้านทักษะกระบวนการของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการ
จัดการเรียนรู้ในภาพรวม นักเรียนมีทักษะกระบวนการอยู่ในระดับสูง
2.4 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม นักเรียนมีความพึง
พอใจอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^