การติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน
ชื่อผู้ศึกษา นายวีระศักดิ์ น้อยหมอ
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2562
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และศึกษาความคิดเห็นต่อการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียนบ้านผาบ่อง (คุรุราษฎร์สามัคคี) อำเภอแม่ลาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ปีการศึกษา 2562 โดยประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนบ้านผาบ่อง (คุรุราษฎร์สามัคคี)ในปีการศึกษา 2562 จำนวน 122 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางพร้อมคำอธิบายประกอบ โดยมีผลของการประเมิน ดังนี้
1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านผาบ่อง (คุรุราษฎร์สามัคคี) ตามประเด็นการติดตามทั้ง 8 องค์ประกอบ พบว่า รวมทุกองค์ประกอบ โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การจัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดของผลการติดตาม จำแนกตามองค์ประกอบได้ ดังนี้
1.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษาในการจัดทำมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน
1.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับ โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียนเป็นประจำทุกปี ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
1.3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนสามารถจัดระบบการบริหารโดยอาศัยแนวคิด ทฤษฏี หรือผลงานวิจัยที่มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนจัดให้มีบุคลากรหรือคณะทำงานด้านสารสนเทศของโรงเรียนโดยเฉพาะ
1.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ผู้บริหารเป็นผู้นำในการปฏิบัติงานตามแผนงาน/กิจกรรม/ โครงการที่กำหนดไว้ ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษามีผลการดำเนินงานสำเร็จตามพันธกิจและเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
1.5 การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพผู้เรียนเป็นอันดับแรกและเชื่อมโยงถึงมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในด้านอื่น ๆ รวมถึง เอกลักษณ์ของโรงเรียน ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดกรอบการตรวจสอบที่ชัดเจน ซึ่งประเด็นการตรวจสอบต้องสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และโรงเรียนมีการใช้แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือในการกำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี
1.6 การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการประเมินผลคุณภาพการศึกษาครอบคลุมทุกด้านของมาตรฐานการศึกษา ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วย เครื่องมือที่มีความเหมาะสมและหลายหลาย
1.7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนสรุปและจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สะท้อนคุณภาพผู้เรียนและผลสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาตามรูปแบบที่หน่วยงานต้นสังกัดกำหนด และโรงเรียนนำรายงานการศึกษาประจำปี (SAR) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อขอความเห็นชอบก่อนรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด) ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์และอภิปรายผลการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรอบปี
1.8 การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการรายงานผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพต่อผู้เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ส่วนสภาพการดำเนินงานที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนเผยแพร่ผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาระหว่างโรงเรียนกับโรงเรียน
2. ความคิดเห็นต่อการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านผาบ่อง (คุรุราษฎร์สามัคคี) พบว่า รวมทุกด้าน โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านผลที่ได้จากการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดของผลการติดตาม จำแนกเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
1) ด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย, การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการพัฒนาผลการเรียนของนักเรียนและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการยกระดับมาตรฐานการศึกษาของชาติ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษามีขั้นตอนการดำเนินงานที่สะดวกต่อการปฏิบัติ
2) ด้านการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงาน โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก ยกเว้น สภาพการดำเนินงาน เรื่อง ครูและบุคลากร ผู้ปกครองและชุมชนในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนจัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา
3) ด้านการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาโดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนได้กำหนดบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบและคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาไว้อย่าง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนได้ประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ให้กับโรงเรียนอื่น ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจในหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ
4) ด้านผลที่ได้จากการดำเนินงาน โดยเฉลี่ยมีการปฏิบัติในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นประโยชน์และจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ การประกันคุณภาพการศึกษาช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
3. ข้อเสนอแนะ/แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน เพื่อให้โอกาสแก่ผู้ตอบได้ให้ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรค ตลอดทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงาน
3.1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดประชุมชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบ และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา แล้วประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาของ สถานศึกษา
3.2 การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา (ระยะ 3 - 5 ปี) และแผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ SWOT และนำผลการวิเคราะห์ SWOT ไปใช้ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3.3 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ผู้บริหารควรมีการจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่เป็นจริงและเป็นปัจจุบันอย่างเป็นระบบ ผู้บริหารจัดทำข้อมูลสารสนเทศที่เอื้อต่อการ ดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างเพียงพอ
3.4 การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และพร้อมให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ หรือคำปรึกษาเมื่อการดำเนินงานเกิดปัญหาหรืออุปสรรคด้วยวิธีการที่หลากหลาย
3.5 การจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการประชุม ชี้แจง จัดทำปฏิทินการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาโดยใช้เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่หลากหลาย
3.6 การจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน ผู้บริหารสถานศึกษาควรสร้างความตระหนักและความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพภายในแก่ผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้อง และให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมใน การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา และผู้บริหารควรจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3.7 การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ผู้บริหาร สถานศึกษาควรมี การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล สารสนเทศจากการดำเนินงานประจำ วิเคราะห์ และแปลผล แล้วเขียนรายงานนำเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด และเผยแพร่รายงานประจำปีต่อสาธารณชนทุกสิ้นปีการศึกษา
3.8 การจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมาปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาการจัดการศึกษาในครั้งต่อไป