การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียรู้
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ
3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ
4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 249 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 44 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 100 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test (dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของโรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ มีความพร้อมที่จะพัฒนาสถานศึกษาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ควรมีการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนสู่การปฏิบัติจริงในสถานศึกษาได้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเน้นไปที่การศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากการเรียนการสอนที่นักเรียนมีโอกาสเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ โดยใช้รูปแบบ “APDT Model” มี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge : A) 2) นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present new Information : P) 3) การเรียนหลากหลาย (Differentiated Learning : D) 4) การถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation : T) ส่วนการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนตามรูปแบบ “APDT Model” มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน การเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรมพบว่า คะแนนก่อนอบรมเท่ากับ 6.55 และหลังอบรมมีคะแนนเท่ากับ 16.36 เมื่อเปรียบเทียบพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินความสามารถในการเขียนโครงการวิจัยของครูหลังการอบรม ภาพรวมพบว่า ครูมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ
1) ประเมินทักษะครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
2) ประเมินทักษะการทำโครงงานของนักเรียน ภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
3) ประเมินพฤติกรรมตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
4) ประเมินความพึงพอใจ
(1) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
(2) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐานบูรณาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนอนุบาลอำนาจเจริญ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก