LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

วิจัย ทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับ ม.2

usericon

ชื่อเรื่อง                การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
                และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียน
                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย                นางสาวพรรณทิพา คำสิงห์
หน่วยงาน         โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
                สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ทำการวิจัย    ๒๕๖๒

บทคัดย่อ

    ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้ เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) เปรียบเทียบทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๕) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) ประเมินการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ระยะการวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ได้แก่ ๑) การวิจัย (Research : R1) ๒) การพัฒนา (Development : D1) ๓) การวิจัย (Research : R2) และ ๔) การพัฒนา (Development : R2) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ระยะที่ ๑ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๕ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๒ คน ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๗ คน ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ โรงเรียนนาสีนวนพิทยาสรรค์ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน ๒๒ คน ระยะที่ ๔ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ ๑) แบบสัมภาษณ์ ๒) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ๓) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๔) แบบ วัดความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง ๐.๒๙ - ๐.๗๖ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๒ ๕) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๓๒ - ๐.๗๗ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๓ ๖) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง ๐.๖๐ - ๑.๐๐ ๗) แบบวัดทักษะการใช้โปรแกรม และ ๘) แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t - test (Independent system)
    ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์มีปัญหามากที่สุดใน
ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รองลงมา คือ ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล และปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านเนื้อหา ปัญหาของนักเรียน คือ แต่ละคนสร้างความรู้ความเข้าใจได้ไม่เหมือนกัน ครูควรมีวิธีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ ให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกทำด้วยตนเอง จะนำไปสู่ความคิดที่หลาก หลายเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ครูยังให้ความสำคัญกับลำดับขั้นตอน แล้วนักเรียนปฏิบัติตาม ไม่ได้เปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกคิดค้นหาวิธีการตามแนวทางใหม่ จึงส่งผลให้นักเรียนขาดโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรมต่าง ๆ
    ๒. รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียน รู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (ILPCM MODEL) มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) ระบบสนับสนุน มีขั้นตอนในการดำเนินการจัดกิจกรรม ๕ ขั้นตอน คือ ขั้นที่ ๑ นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่ ๒ จัดการเรียนรู้ ขั้นที่ ๓ ฝึกทักษะและการนำไปใช้ ขั้นที่ ๔ สื่อสารและนำเสนอ ขั้นที่ ๕ วัดและประเมินผล ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๒
๓. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (ILPCM MODEL) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๔.๐๕/๘๓.๙๖ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา ขึ้น มีทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๕) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
        ๔. ครูผู้สอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ มีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ๒๐๑๖ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^