LASTEST NEWS

27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
(สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4–6

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6     3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ดังนี้ 3.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคะแนนเฉลี่ยของความคิดสร้างสรรค์ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 3.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
4) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลนาเชือก สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน
1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2 โรงเรียนเทศบาลนาเชือก สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 มีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบอยู่ในระดับ มากที่สุด
มีค่าเฉลี่ย 4.51 และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย 4.24 2) แผนการจัดการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีมีความเหมาะสมระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.81
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.77 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.94 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ (rcc) เท่ากับ 0.96 4) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 4 ข้อ มีค่าความยาก (PE) ตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.64 มีค่าอำนาจจำแนก (D) ตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.65 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (rxy) เท่ากับ 0.95 และ 5) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.34 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples)
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี พบว่า
            สภาพปัจจุบันด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
โดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง
            สภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
            ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี ของครูผู้สอนวิชา ดนตรี ซึ่งข้อที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ นักเรียนมีการออกแบบทางเลือก วางแผน และลงมือฝึกปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันด้วยความกระตือรือร้นเพื่อค้นหาคำตอบ (PNIModified = 0.55) รองลงมาคือ ครูผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน ให้โอกาส จัดหาสื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลาย อำนวยความสะดวก (PNIModified = 0.54) และนักเรียนมีการสังเคราะห์ความรู้ (PNIModified = 0.51) ตามลำดับ
            ปัญหา อุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี พบว่า มีทั้งด้านปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก คือ ครูผู้สอนขาดความรู้ เทคนิค กลวิธีการสอนที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการสร้างผลงานที่สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสถานที่ เครื่องมือ สื่อ อุปกรณ์ต่าง ๆ การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ไม่เหมาะสม เวลาไม่เพียงพอในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านปัจจัยภายในที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียน คือ การค้นหาคำตอบไม่แตกต่างหลากหลาย ไม่มีการวางแผนการฝึกปฏิบัติกิจกรรมและไม่สม่ำเสมอ ขาดความกระตือรือร้น ไม่สามารถประยุกต์หรือนำความรู้พื้นฐานไปใช้แก้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่แตกต่างได้ สำหรับแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี คือ ครูผู้สอนควรปรับกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นำเทคนิควิธีการ ใหม่ ๆ มาใช้ ใช้คำถามปลายเปิด ส่งเสริมให้นักเรียนกล้าตอบคำถาม ยกย่องชมเชยเมื่อนักเรียนมีจินตนาการแปลกกว่าผู้อื่น เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การเรียนรู้
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเผชิญปัญหา ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้ ขั้นที่ 3 ขั้นทดสอบความคิด ขั้นที่ 4 ขั้นบ่มเพาะความคิด และ ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินคุณค่า 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ
6) ระบบสนับสนุน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มากที่สุด             3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ทางดนตรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า
            3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
ทางดนตรี มีค่าเท่ากับ 83.15/81.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
             3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
             3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
        4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางดนตรีกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนในกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ มาก



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^