การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้
สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน
ผู้วิจัย นายเกษม อบเชย ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
จังหวัดสุโขทัย
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัย การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาครูและสภาพ การพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียน วัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 และเพื่อพัฒนารูปแบบ การพัฒนาครู เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 สำหรับครูของโรงเรียน วัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 11 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 60 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบและผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัยและขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
จากผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1
1.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ เอกสารทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการชี้แนะและองค์ประกอบของรูปแบบและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการชี้แนะ ดังนี้
1.1.1 ความรู้เกี่ยวกับหลักการแนวคิดการชี้แนะ (Coaching) เพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1) การชี้แนะการสอน (Instruction Coaching) เป็นวิธีการพัฒนาการเรียนการสอนของครูโดยยึดหลักการความเป็นหุ้นส่วน (A Partnership Approach) ระหว่างผู้ชี้แนะและครูผู้รับการนิเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ผู้ชี้แนะต้องมีทักษะในการสื่อสาร ให้ความเคารพความเป็นมืออาชีพของครูมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการสอนและสะท้อนการทำงานของครูผู้รับการนิเทศ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการเรียน การสอน 2) การชี้แนะที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหา (Solution Focus Coaching) เป็นการชี้แนะที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานมองไปที่จุดแข็งและวิธีการปฏิบัติที่ได้ผลดีมากกว่ามุ่งไปที่ปัญหาหรือสิ่งที่ผิดพลาดเป็นการพัฒนาบุคลากรทีมงานและองค์กรนำไปสู่แนวทางการพัฒนาในเชิงบวก 3) การชี้แนะแบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Coaching) เป็นกระบวนการพัฒนาการเรียนการสอนของครูมีการปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูตั้งแต่ 2 คนหรือมากกว่า 2 คนเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อ การไตร่ตรองสะท้อนคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันสังเกตการสอนกันและกันเพื่อแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนการสอนของครูที่เกิดขึ้นของโรงเรียนยึดหลักการที่สำคัญคือเพื่อนร่วมชี้แนะจะต้องเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งหรือสถานภาพในระเดียวกันความรู้และประสบการณ์ไม่แตกต่างกันมากสามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ 4) ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นการรวมตัวกันในการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ระหว่าง ผู้ชี้แนะและครูผู้รับการนิเทศแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติงานการสอน ในชั้นเรียนลดความโดดเดี่ยวในการทำงานสร้างสัมพันธภาพและบรรยากาศที่ดี จัดสภาพแวดล้อมห้องเรียนกลายเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้โรงเรียนเป็นสถานที่ ที่ครูมีส่วนร่วมในชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ 5) การสะท้อนผล (Reflection) เป็นกระบวนการเรียนรู้ จากประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงค้นพบข้อบกพร่องของตนเองที่ควรปรับปรุงแก้ไขช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการบันทึกเหตุการณ์หรือสถานการณ์ช่วยพัฒนาการเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงาน
1.1.2 ผลการศึกษาทฤษฎีแนวคิดเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของรูปแบบจากนักวิชาการศึกษาประกอบด้วย Joyce, Weil and Calhoun (2011), Anderson (1997), Tripp and Bichelmeyer (1990), สมาน อัศวภูมิ (2550), ธีระ รุญเจริญ (2550), อวยชัย สุขณะล้ำ (2559), จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์ (2555) และธัญพร ชื่นกลิ่น (2553)
1.2 ผลการศึกษาสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต1 พบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า ด้านการชี้แนะในการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีระดับปฏิบัติน้อย และด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมมีระดับปฏิบัติน้อย 2) ผลการศึกษาสภาพการพัฒนาครูและการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูระดับประถมศึกษาพบว่า การพัฒนาครูของโรงเรียนส่วนใหญ่จะเป็นการพัฒนาโดยหน่วยงานต้นสังกัด ไม่ตรงกับความต้องการของครูและครูต้องทิ้งการสอนกลับมาก็ขยายผลได้ไม่ชัดเจนหรือไม่ได้ ขยายผลเนื่องจากภาระงานมากและไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพการพัฒนาครูให้มีทักษะในการจัดการเรียนรู้ควรเป็นลักษณะที่ครูได้พัฒนาจากการปฏิบัติจริงในชั้นเรียนและนำสิ่งที่เป็นปัญหาจากการสอนในห้องเรียนมาแก้ไขปรับปรุงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัด การเรียนรู้หรือเทคนิคการสอนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 3) ผลการศึกษาแนวทางการชี้แนะเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สรุปผลดังนี้ 1) ด้านการชี้แนะพบว่า การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวนโดยกระบวนการชี้แนะควรมีหลักการของการชี้แนะที่สำคัญ คือ ผู้ชี้แนะและครูผู้รับการนิเทศต้องมีความเสมอภาคกันยอมรับความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยกระบวนการชี้แนะนั้นต้องมีการเตรียมการก่อนการชี้แนะ และการชี้แนะการจัดการเรียนรู้ต้องมี การสังเกตการสอนในชั้นเรียนมีการทบทวนการจัดการเรียนรู้ ทำความเข้าใจเพื่อที่ครูจะได้หาวิธี การแก้ปัญหาและที่สำคัญในกระบวนการชี้แนะจะต้องมีการสะท้อนผลจากการจัดการเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะเป็น PLC และนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและปัจจัยความสำเร็จของการชี้แนะ คือผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนในกระบวนการชี้แนะ และตัวครูเองจะต้องมีความเต็มใจสมัครใจมุ่งมั่นเพื่อที่จะพัฒนาในวิชาชีพของตนเองโดยมีผู้ชี้แนะ ที่จะต้องมีความรู้ทักษะในการชี้แนะ 2) ด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 พบว่า 1) ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างชัดเจนศึกษาหลักสูตรวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด 2) ครูต้องมีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเฉพาะการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ต้องมีความชัดเจนครอบคลุมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน 3) ครูต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เช่น การจัดการเรียนรู้ แบบ Active Learning 4) ครูต้องสามารถใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้ 5) ครูต้องมี การจัดทำ PLC แลกเปลี่ยนเรียนรู้การสะท้อนผลการเรียนรู้
2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 สรุปผลได้ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 องค์ประกอบรูปแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ (Principle of Model) 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (Objective of Model) 3. ขั้นตอนการชี้แนะ (Process of Coaching) ประกอบด้วย 3.1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนการชี้แนะ (Pre - Coaching) 3.2) ขั้นการชี้แนะ (Coaching) 3.3) ขั้นการทบทวน (Review) 3.4) ขั้นการสะท้อนผล (Reflection) 4. ปัจจัยสนับสนุน (Support System)
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบและเครื่องมือประกอบพบว่า ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายด้าน ทุกด้านพบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.00 ถึง 4.60 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อรวมทุกรายการโดยรวมมีค่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประกอบการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่ามีความสอดคล้อง ทุกประเด็นโดยมีค่าความสอดคล้อง IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปซึ่งอยู่ในเกณฑ์สามารถนำไปใช้ได้
2.3 ผลการทดลองนำร่อง (Pilot) ก่อนนำไปใช้จริงดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูกลุ่มทดลองทั้ง 3 คนพบว่าภายหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนโดยภาพรวมก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ระดับน้อยและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูมีทักษะ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูกลุ่มทดลองพบว่ามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าคะแนนก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) ผลการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนครูกลุ่มทดลองพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ดังนี้ ผลจากการส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูผู้รับการชี้แนะสรุปผลได้ดังนี้ 1) ผลการประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 5 คน มีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการวางแผนทักษะการออกแบบ การเรียนรู้ TPCK ทักษะการสะท้อนผลและทักษะการเรียนรู้เป็นทีม: PLC สูงขึ้นทุกคน 2) ผลการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 11 คน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลจากการสังเกตการสอนครูผู้รับการชี้แนะมีการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นและผลการตรวจสอบรายการปฏิบัติทักษะการจัด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 4 ทักษะครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติมากทุกคน 4) ผลการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (AAR) พบว่าสิ่งที่ครูผู้รับการชี้แนะได้รับจากรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือการวางแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้โดยเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ การสะท้อนผลก่อนการจัดการเรียนรู้ระหว่างการจัดการเรียนรู้และได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาภายหลังการจัดการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานและจากการเรียนรู้เป็นทีม PLC นำมาปรับปรุง การเขียนแผนทุกครั้งทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนได้ 5) ผลการสะท้อนผลการเรียนรู้เป็นทีม PLC พบว่าการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สามารถส่งเสริมให้ครูผู้รับ การชี้แนะมีทักษะในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะการออกแบบการเรียนรู้ TPCK ทักษะ ในการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้และทักษะในการทำงานเป็นทีม: PLC โดยมีผลการใช้รูปแบบ การพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้รับการชี้แนะทั้ง 5 คนพบว่าหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21สำหรับครูของโรงเรียนวัดท่าฉนวน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ครูผู้รับการชี้แนะมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน
3.2 ผลการเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนของครูผู้รับ การชี้แนะทั้ง 5 คนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทุกคนโดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นักเรียนของครูผู้รับ การชี้แนะพบว่าหลังการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ทุกคน