เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ตามแนวทางโรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ ๒๒๐
ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางอรกัญญา แก้วปลอด
หน่วยงาน โรงเรียนชุนชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ ๒๒๐ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1
ปีที่รายงาน 2564
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิต โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ (CIPP Model) ตรวจสอบโครงการและพัฒนาโครงการด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ตามลักษณะของโครงการที่ดี ใช้กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ครู จำนวน 16 คน นักเรียน จำนวน 72 คน ผู้ปกครอง จำนวน 59 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับประกอบด้วย แบบสอบถามด้านบริบท จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามด้านกระบวนการ จำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามด้านผลผลิต จำนวน 1 ฉบับ แบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 1ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ จำนวน 3 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และหาค่าความเชื่อมั่น (-Coefficient) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมิน
สรุปผลการประเมินโครงการในครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
1. ผลการคำนวณหาค่าเฉลี่ยจากการคัดเลือกตัวชี้วัดของประเด็นการประเมินและการกำหนดค่าน้ำหนัก จากการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ดังนี้
ด้านบริบท ร้อยละ 10 ประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด เป็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง 3 ตัวชี้วัด
ด้านปัจจัยนำเข้า ร้อยละ 10 ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด เป็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการทั้ง 2 ตัวชี้วัด
ด้านกระบวนการ ร้อยละ 25 ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด เป็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้ง 5 ตัวชี้วัด
ด้านผลผลิต ร้อยละ 55 ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด เป็นของนักเรียน 1 ตัวชี้วัด
ครูและบุคลากรทางการศึกษา 2 ตัวชี้วัด และครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน 1 ตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนาม
ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ความต้องการและความจำเป็นในการทำโครงการ ( =4.65) ความชัดเจนของเป้าหมายและองค์ประกอบของโครงการ ( =4.56) และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับกิจกรรมในโครงการ ( =4.52)
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุดทั้ง 2 ตัวชี้วัด คือ งบประมาณตามเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100) และบุคลากรตามเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 100)
ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด 3 ตัวชี้วัด เรียงตามดังนี้ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( =4.63) การให้ความสำคัญของผู้บริหารและ ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ ( = 4.57) การประสานงาน มีค่าเฉลี่ย ( =4.53) และผ่านเกณฑ์ในระดับสูง 2 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ การนิเทศกำกับติดตามมีค่าเฉลี่ย ( =4.47) และกระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีค่าเฉลี่ย ( =4.40 )
ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด 3 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ นักเรียน เข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรม (ร้อยละ100) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ ( =4.60) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ( =4.57) และผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง 1 ตัวชี้วัด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรมได้ถูกต้อง (ร้อยละ 90)
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ ๒๒๐ อำเภอสทิงพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 อยู่ในระดับสูงที่สุด (ร้อยละ 95.40 ) และเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของประเด็นการประเมินแต่ละประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับสูงที่สุดทุกประเด็น ทั้งด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนชุมชนวัดคลงอรีมิตรภาพที่ ๒๒๐ อำเภอสทิงพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 เพื่อให้ได้ข้อมูลการประเมินที่มีความครอบคลุม เที่ยงตรง เชื่อถือได้ จึงใช้วิธีการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ซึ่งข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากแบบสอบถามชนิดคำถามปลายเปิดจากครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน
สำหรับปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินโครงการนั้น ทางวิทยากรที่ทางโรงเรียนได้ติดต่อไว้มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบหลายด้าน ทำให้บางครั้งไม่สามารถมาอบรมตามที่กำหนดไว้ได้ ห้องประชุมที่ใช้ในการจัดกิจกรรม มีสภาพมืด และร้อนอบอ้าว ทำให้นักเรียนไม่สามารถใช้สมาธิในการจัดกิจกรรมได้เต็มที่
ในส่วนของข้อเสนอแนะ ที่สอดคล้องกับปัญหาคือ หากวิทยากรที่กำหนดไว้ไม่สามารถจะมาอบรมนักเรียนได้ ควรจัดหาวิทยากรอาทิ เช่น ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาที่ชุมชนให้การยอมรับทดแทน หรือนำสื่อ เทคโนโลยี รูปแบบที่หลากหลายมาแทนในการอบรมให้ความรู้นักเรียน และปรับปรุงสภาพห้องประชุมให้สว่าง และอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการร่วมกิจกรรม หรือมีการเปลี่ยนสถานที่ไปใช้ร่มไม้จัดกิจกรรมในบางโอกาส
อภิปรายผลการประเมิน
การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 อำเภอสทิงพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต การสรุปการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมโรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ท 220 มีประเด็นที่น่าสนใจในการนำมาอภิปรายผลดังนี้
1. จากผลการประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เมื่อพิจารณาให้ค่าน้ำหนัก
คะแนนแต่ละประเด็นที่มุ่งประเมินแล้วพบว่า ประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ตามลำดับความสำคัญดังนี้ คือ ด้านผลผลิต(ร้อยละ55) ด้านกระบวนการ(ร้อยละ25) ด้านปัจจัยนำเข้า (ร้อยละ 10) และด้านบริบท (ร้อยละ10) ผลที่ได้ดังกล่าวข้างต้นเป็นค่าเฉลี่ยของผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนซึ่งพิจารณาให้คะแนนของแต่ละคนมีความใกล้เคียงกันมาก ดังนั้นเมื่อคิดหาค่าเฉลี่ยแล้วจึงทำให้มีคะแนนไม่แตกต่างจากเดิม ผลที่ได้ถือเป็นภาพรวมจากความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 คน ให้คะแนนด้านผลผลิตสูงที่สุด (ร้อยละ55) เนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญมากในการดำเนินโครงการ ผลผลิตที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการได้ว่า การดำเนินโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่ ซึ่งผลการประเมินจะเป็นสารสนเทศในการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของการดำเนินงานว่าควรจะคงอยู่ปรับขยายการดำเนินการหรือควรสิ้นสุดการดำเนินงาน ส่วนประเด็นกระบวนการเป็นลำดับรองลงมา (ร้อยละ25) แสดงให้เห็นว่า ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความสำคัญด้านกระบวนการ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายของโครงการ ส่วนประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า (ร้อยละ 10) และบริบท (ร้อยละ 10) คะแนนเท่ากัน ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นพ้องกันว่า การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลว่า ปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการจะมีส่วนช่วยให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ และการประเมินด้านบริบทเป็นการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่จะเป็นการนำไปสู่การกำหนดวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน
2. จากผลการประเมินคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 มีประเด็นที่จะนำมาอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
2. 1 ประเด็นด้านบริบท ได้รับการพิจารณาตัวชี้วัดจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 3 ตัวชี้วัดตามลำดับความสำคัญ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุดทั้ง 3 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ความต้องการและความจำเป็นในการทำโครงการ ( =4.65) ความชัดเจนของเป้าหมายและองค์ประกอบของโครงการ ( =4.56) และความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับกิจกรรมในโครงการ ( =4.52) จากผลการประเมินเป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะผู้รับผิดชอบโครงการเห็นความสำคัญ ความจำเป็นในการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน เพราะเป็นการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยตรง การดำเนินโครงการมีเป้าหมายและองค์ประกอบที่ชัดเจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของผลงานวิจัยของ ฉันทนา โรจน์บูรณาวงศ์ (2552 :111) ได้วิจัยเรื่อง โครงการโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบ้านมะกอก โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมรูปแบบเดิมกับแนวทางการปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมของมูลนิธิพุทธฉือจี้ พบว่า ผลการวิจัยด้านบริบทอยู่ในระดับมากที่สุด และยังสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ สมปอง ภักดีกิจ (2552:108) ได้วิจัยเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาพฤติกรรมคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งบก อำเภอจุฬาภรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ผลการวิจัยพบว่า การประเมินด้านบริบท ผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัดผ่านการประเมินและมีคะแนนอยู่ในระดับสูงมาก
2.2 ประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า ได้รับการพิจารณาตัวชี้วัดจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 2 ตัวชี้วัด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุดทั้ง 2 ตัวชี้วัด คือ งบประมาณตามเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ100) บุคลากรตามเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ100) จากผลการประเมินเป็นเช่นนี้ น่าจะเพราว่าโรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ ๒๒๐เป็นโรงเรียนขนาดกลาง มีบุคลากร 16 คน ซึ่งทุกคนได้รับมอบหมาย ให้เป็นคณะกรรมการในทุกฝ่าย มีความตระหนัก และเห็นถึงความสำคัญในการปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพโดยอาศัยความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ซึ่งบุคลากรทุกคนได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เข้ารับการอบรม พัฒนาตนเองเพื่อให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนอย่างหลากหลาย มีประสบการณ์ในการทำงานสูง จึงถือได้ว่ามีประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในการทำงานได้เป็นอย่างดี รวมถึงคณะกรรม การสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน เห็นความสำคัญของโครงการ โรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับสมบูรณ์ ตันยะ.(2545:103) ที่กล่าวไว้ว่า การประเมินปัจจัยนำเข้าเป็นการตรวจสอบความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นต่างๆ เช่น บุคลากร อาคารสถานที่ งบประมาณ หรืออื่นๆ โดยนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจวางโครงการ หรือหาวิธีการที่จะดำเนินโครงการให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นวิธีการหรือยุทธวิธีที่เป็นไปได้กับทรัพยากรในด้านต่างๆ ที่มีอยู่ ผลการประเมินครั้งนี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยของพจนีย์ แพ่งศรีสาร (2547:49) ได้วิจัยเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนปริ้นส์รอยแยลล์วิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โรงเรียนมีการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการชัดเจนต่อเนื่อง ตามธรรมนูญของโรงเรียน มีงบประมาณและจำนวนครูดำเนินงานอย่างเพียงพอ และได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครองทุกปี
2.3 ประเด็นด้านกระบวนการ ได้รับการพิจารณาตัวชี้วัดจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 5 ตัวชี้วัด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด 3 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย ( =4.63) การให้ความสำคัญของผู้บริหารและผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ ( =4.57) การประสานงาน มีค่าเฉลี่ย ( =4.53) และผ่านเกณฑ์ในระดับสูง 2 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ การนิเทศกำกับติดตามมีค่าเฉลี่ย ( =4.47) และกระบวนการดำเนินงานตามโครงการมีค่าเฉลี่ย ( =4.40) จากผลการประเมินเป็นเช่นนี้ น่าจะเป็นเพราะครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมเป็นอย่างดี มีการประสานงานที่ดีทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน รวมทั้งผู้รับผิดชอบโครงการให้ความสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ที่จะปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนที่ดีของสังคม ซึ่งสอดคล้องกับจากผลการประเมินครั้งนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ มณีรัตน์ อินทร์คง.(2550) ได้วิจัย เรื่อง การประเมินโครงการกระบวนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด และจากผลการประเมินครั้งนี้สอดคล้องกับแนวคิดของสมบูรณ์ ตันยะ.(2545:104) ที่กล่าวไว้ว่า การประเมินกระบวนการ เป็นการประเมินเพื่อระบุจุดเด่น จุดด้อยของแนวทางที่เลือกใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการบริหารและกระบวนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หลังจากการนำแผนไปปฏิบัติจริง เพื่อจะได้ปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ให้เหมาะสมได้ทันท่วงที ขณะที่การดำเนินงานนั้นกำลังกระทำอยู่เพื่อให้สามารถดำเนินการตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ได้ด้วยดี และจัดหาสารสนเทศเพื่อการปรับปรุงการดำเนินโครงการได้ทันท่วงที การประเมินขั้นตอนนี้จึงมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการ
2.4 ประเด็นด้านผลผลิต ได้รับการพิจารณาตัวชี้วัดจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องจำนวน 4 ตัวชี้วัด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูงที่สุด 3 ตัวชี้วัด เรียงตามลำดับดังนี้ คือ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรม (ร้อยละ100) ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ( =4.60) นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ( =4.54) และผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับสูง 1 ตัวชี้วัด คือ นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรมได้ถูกต้อง (ร้อยละ90) จากผลการประเมินเป็นเช่นนี้ เป็นเพราะโรงเรียน ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเป็นประจำทุกปี นอกจากนั้นโรงเรียนได้บูรณาการเรื่องคุณธรรม จริยธรรมลงในกิจกรรมการเรียนการสอนในทุกระดับชั้นและกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้กับนักเรียนเป็นกิจกรรมที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการได้ติดตามเอาใจใส่ในการจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการอย่างใกล้ชิด ซึ่งสอดคล้องกับ สมบูรณ์ ตันยะ.(2545:104) กล่าวไว้ว่า การประเมินผลผลิตเป็นการตัดสินคุณค่าผลผลิตของโครงการทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพซึ่งจะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าในการดำเนินงานนี้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะใช้ปรับปรุงหรือยุบเลิกโครงการนั้นๆ ไปเลย จากผลการประเมินครั้งนี้สอดคล้องกับผลการประเมินของ มณีรัตน์ อินทร์คง. (2550:131)ได้วิจัย เรื่อง การประเมินโครงการกระบวนการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตการศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด
2.5 ผลการประเมินโครงการในภาพรวม จากผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 อำเภอสทิงพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 จากประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็น โดยผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด จากผลการประเมินเป็นเช่นนี้เกิดจากโรงเรียนให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียน จึงได้จัดกิจกรรมลักษณะนี้เป็นประจำทุกปี ได้มีการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมให้เป็นที่ยอมรับของภาคส่วนต่างๆ จึงได้ความร่วมมือจากคณะครู ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนเป็นอย่างดี ประกอบกับกิจกรรมที่โรงเรียนจัดให้แก่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของนักเรียนได้อย่างดี ผลการประเมินครั้งนี้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของขวัญนภา อุณหกานต์.(2553:83) ที่ได้ศึกษาการประเมินโครงการ เรื่อง การประเมินโครงการคุณธรรมนาความรู้สู่ความดีของโรงเรียนต้นแบบคุณธรรมนาความรู้สู่ความดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 พบว่าผลการประเมินโครงการในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับ ผลงานวิจัยของ ฉันทนา โรจน์บูรณาวงศ์ (2552: บทคัดย่อ) ที่ได้วิจัย รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนบ้านมะกอก โดยบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมรูปแบบเดิมกับแนวทาง การปลูกฝังจิตสำนึกคุณธรรมผ่านระบบการศึกษาของมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน พบว่าประเด็นพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับวรรณวดี ม้าลำพอง (2551:104) ได้กล่าวถึงการประเมินโครงการว่า เป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและการพัฒนางานที่ดำเนินการอยู่ให้ดีขึ้นในทุกด้าน ผลจากการประเมินโครงการจะทำให้ผู้บริหารโครงการได้ทราบจุดเด่นและจุดด้อย เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ทันการณ์และที่สุดจะให้ผู้บริหารโครงการได้ทราบว่า ผลจากการดำเนินโครงการนั้นๆ บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใดได้ผลคุ้มค่ากับการใช้งบประมาณหรือไม่ เพื่อนำมาสู่การตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการลักษณะใดต่อไป เพื่อให้สารสนเทศที่จะช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ถูกต้อง มีความจำเป็นที่จะดำเนินการประเมินโครงการต้องมีระบบที่เชื่อถือได้ ให้คำตอบที่เป็นจริง
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
จากผลการประเมินข้อมูลในเชิงคุณภาพของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดคลองรีมิตรภาพที่ 220 อำเภอสทิงพระ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 พบว่า วิทยากรที่ทางโรงเรียนได้ติดต่อไว้มีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบหลายด้าน ทำให้บางครั้งไม่สามารถมาอบรมนักเรียนตามที่กำหนดไว้ได้ ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้นโรงเรียนจะต้องดำเนินการ ปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไปดังนี้ หากวิทยากรที่กำหนดไว้ไม่สามารถจะมาอบรมนักเรียนได้ ควรจัดหาวิทยากรอาทิเช่น ครูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศาสนาที่ชุมชนให้การยอมรับทดแทน หรือนำสื่อ เทคโนโลยี รูปแบบที่หลากหลายมาแทนในการอบรมให้ความรู้นักเรียนส่วนเรื่องห้องประชุมที่ใช้ในการจัดกิจกรรม มีสภาพมืด และร้อนอบอ้าว จนทำให้นักเรียนไม่สามารถใช้สมาธิในการจัดกิจกรรมได้เต็มที่ส่วนเรื่อง โรงเรียนจึงมีความจำเป็นต้องจัดระดมทรัพยากรเพื่อติดตั้งระบบอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ พัดลม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว รวมทั้งโรงเรียนจะต้องหารูปแบบวิธีการในการบริหารจัดการ เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินการให้ความรู้หรือร่วมกันวางแผนหาแนวทางในการจัดซื้อจัดหา ซึ่งสอดคล้องกับประชุม รอดประเสริฐ (2547ก:75) ที่กล่าวว่าการประเมินโครงการช่วยให้การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างคุ้มค่าหรือเกิดประโยชน์เต็มที่ ทั้งนี้เพราะการประเมินโครงการจะต้องวิเคราะห์ทุกส่วนของโครงการ ข้อมูลใดหรือปัจจัยใดที่เป็นปัญหาจะได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมคุ้มค่า
ผลการประเมินพบว่า
ผลการประเมินพบว่า ตัวชี้วัดทุกตัว ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด
1. ด้านบริบทของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด และผลของตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ความต้องการและความจำเป็นในการจัดทำโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด
1.2 ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับกิจกรรมในโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด
1.3 ความชัดเจนของเป้าหมายและองค์ประกอบของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด และผลของตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1. จำนวนบุคลากรตามเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับสูงที่สุด
2.2 งบประมาณตามเกณฑ์ที่กำหนด อยู่ในระดับสูงที่สุด
3. ด้านกระบวนการของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด และผลของตัวชี้วัด 5 ตัวชี้วัด มีดังนี้
3.1 กระบวนการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับสูง
3.2 การนิเทศ กำกับ ติดตาม อยู่ในระดับสูง
3.3 การประสานงาน อยู่ในระดับสูงที่สุด
3.4 การให้ความสำคัญของผู้บริหารและผู้รับผิดชอบโครงการ อยู่ในระดับสูงที่สุด
3.5 การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับสูงที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการอยู่ในระดับสูงที่สุด และผลของตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
4.1 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ในระดับสูงที่สุด
4.2 นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรม อยู่ในระดับสูงที่สุด
4.3 นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ 3 กิจกรรมได้ถูกต้อง อยู่ในระดับสูง
4.4 ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ อยู่ในระดับสูงที่สุด
จากผลการประเมินตัวชี้วัดและประเด็นการประเมินดังกล่าว ทำให้ผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้
1. จากผลการประเมินที่พบว่า ผลการประเมินโครงการในภาพรวมผ่านเกณฑ์ใน
ระดับสูงสุด จึงควรดำเนินโครงการต่อไป โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบเดิมหรือเพิ่มรูปแบบให้มีความหลากหลาย
2. จากผลการประเมิน พบว่าผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับ สูงที่สุด แต่จากการที่โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก บุคลากรและงบประมาณที่มีอยู่มีจำนวนจำกัด แม้ว่าบุคลากรทุกคนจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โรงเรียนก็ควรจัดหาบุคลากรมาช่วยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยอาจประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรมีการระดมทรัพยากร เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
3. จากผลการประเมินที่พบว่า ผลการประเมินด้านกระบวนการในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด แต่ในด้านการนิทศ กำกับติดตาม และด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ ยังต้องมีการพัฒนาอยู่ เพื่อให้การจัดกิจกรรมมีความสมบูรณ์ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4. จากผลการประเมินที่ พบว่า ผลการประเมินด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุด แต่ในด้านที่นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการได้ถูกต้องยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าด้านอื่น ดังนั้นโรงเรียนควรให้ความสำคัญกับผู้เรียนทุกคน เพราะการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมควรส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคนยึดถือปฏิบัติให้เป็นคุณลักษณะประจำตัว
ข้อเสนอแนะในการประเมิน
1. จากผลการประเมิน พบว่า การดำเนินโครงการในภาพรวมผ่านเกณฑ์ และอยู่ในระดับสูงที่สุด จึงควรดำเนินโครงการนี้ต่อไป โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบเดิมหรือเพิ่มรูปแบบให้มีความหลากหลาย โดยประสานขอความร่วมมือ จากพระวิทยากรในการให้ความรู้จัดการอบรม หรือเข้าร่วมโครงการที่ทางหน่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาจัดขึ้น เช่น โครงการธนาคารความดี เพื่อเป็นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียนผ่านสื่อบุคคลคือ พระสงฆ์ โดยเน้นการปฏิบัติในสถานการณ์จริง รวมทั้งการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักศาสนา
2. จากผลการประเมิน พบว่าผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าในภาพรวมอยู่ในระดับ สูงที่สุด แต่จากการที่โรงเรียนมีบุคลากรและงบประมาณจำนวนจำกัด แม้ว่าบุคลากรทุกคนจะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โรงเรียนก็ควรจัดหาบุคลากรมาช่วยในการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โดยอาจประสานความร่วมมือจากชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรมีการระดมทรัพยากร เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรประเมินในเชิงสาเหตุ โดยใช้รูปแบบการประเมินที่ยึดทฤษฎีเพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ เพื่อนำไปปรับปรุงพิจารณาการดำเนินโครงการได้ตรงตามสาเหตุต่อไป
2. ควรประเมินโดยเพิ่มการวัดข้อมูลจากข้อเท็จจริงแทนการรับรู้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้ได้สารสนเทศที่ครอบคลุมอันจะเป็นประโยชน์ในการประเมินโครงการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น