การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย)
ผู้วิจัย : นางศศิมาภรณ์ กล้าศักดา ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย)
ปีการศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SIMAPORN Model : กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SIMAPORN Model : กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 2) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SIMAPORN Model : กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) และหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 3) เปรียบเทียบสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SIMAPORN Model : กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) และหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 4) ศึกษาพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) และหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 5) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) และหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 6) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) กับหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง โรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 7) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) กับหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) 8) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนพัฒนา ระหว่างพัฒนา และหลังพัฒนา ดังนี้ 8.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 8.2) ผลการวัดความสามารถขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชาติ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 8.3) ผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 9) ศึกษาความพึงพอใจของครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ SIMAPORN Model : กรณีโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 12 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน นักเรียน 66 คน และผู้ปกครอง 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการดำเนินงานของโรงเรียน วัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ตามความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับการดำเนินงานของโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) ตามความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ระดับการดำเนินงานของโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) 5) ผลการเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานของโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ในภาพรวมและ รายด้านทุกด้าน หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) 6) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 7) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 8) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 9) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 10) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู ในภาพรวมและ รายด้านทุกด้าน หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) 11) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 12) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนหลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) ตามความคิดเห็นของครู และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 13) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้าน หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) 14) คะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาโรงเรียนวัดโคกชะงาย (ติสสโรอำนวย) ระหว่างพัฒนา (ปีการศึกษา 2560) ส่วนใหญ่สูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ยกเว้นวิชาสุขศึกษาและ พลศึกษา และภาษาอังกฤษ และหลังพัฒนา ปีการศึกษา 2562) ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) ยกเว้นวิชาศิลปะ การงานอาชีพฯ และภาษาอังกฤษ 15) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากผลการวัดความสามารถขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชาติ (NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) สูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) โดยเฉลี่ย 16 คะแนน 16) ผลการวัดความสามารถขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชาติ (O-net) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังพัฒนา (ปีการศึกษา 2562) สูงกว่าก่อนพัฒนา (ปีการศึกษา 2558) โดยเฉลี่ย 0.74 คะแนน 17) ความพึงพอใจของครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก