LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MOD
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย        นางสาวไข่ศร เข็มธนู
ตำแหน่ง    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์
โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในประเด็นต่อไปนี้ 4.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบ LDGIP MODEL ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4.2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ LDGIP MODEL ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 4.3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 39 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Learning Style) 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบ LDGIP MODEL 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.58 58 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.25 – 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 5) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา จำนวน 24 ข้อ มีค่าความยากง่ายท่ากับ 0.45 - 0.59 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.45 – 0.73 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 6) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X-bar ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent Sample และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่1 พบว่า จากการสำรวจตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Learning Style) พบนักเรียนมีวิธีการเรียนที่แตกต่างกัน 4 วิธี ดังนี้ นักเรียนชอบวิธีเรียนแบบนักปฏิบัติมากที่สุดโดยมีค่าคิดเป็นร้อยละ 53.79 นักกิจกรรม มีค่าร้อยละ 27.27 นักวิเคราะห์
มีค่าร้อยละ 12.12 และนักทฤษฎีมีค่าร้อยละ 6.82 และจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนจะต้องประกอบด้วย ความเป็นมาของรูปแบบการเรียนการสอน แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอน องค์ประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนองและสิ่งสนับสนุน
2) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า LDGIP MODEL โดยรูปแบบมีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน สำหรับกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิมและระบุปัญหา (Lesson Review and Identifying the Problem : L) ขั้นที่ 2 กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหา (Defining Solving Problem Solution : D) ขั้นที่ 3 รวบรวมความรู้/ตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา (Gathering Information and Selecting Solving Problem Solution : G ) ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้ในการคิดแก้ปัญหา (Implementation and Conclusion : I) และขั้นที่ 5 นำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Presentation and Knowledge Sharing : P) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมและสอดคล้องทุกกระบวนการ สรุปภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x -bar = 4.75, S.D. = 0.41)
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดีผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.05/83.17
4) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบบ LDGIP MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับมากที่สุด ( x -bar= 4. 56, S. D. = 0 . 25)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^