LASTEST NEWS

10 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ต.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 5 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 09 ต.ค. 2567โรงเรียนผาเมืองวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน ตั้งแต่วันที่ 10-25 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567สพป.อุดรธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 7 กลุ่มวิชาเอก 23 อัตรา - รายงานตัว 16 ตุลาคม 2567 09 ต.ค. 2567โรงเรียนสีชมพูศึกษา รับสมัครครูอัตราจ้าง 4 อัตรา เงินเดือน 15,050 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 ตุลาคม 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 09 ต.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา

รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    :    รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
         โรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562
ผู้ประเมิน    :    นายจินพัชญ์ ปัทมแก้ว
ปีที่รายงาน    :    2564

บทคัดย่อ

    รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลงปีการศึกษา 2562 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลงปีการศึกษา 2562 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 138 คน จำแนกเป็นครูผู้สอน จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 62 คนนักเรียน จำนวน 62 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 108 คน ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำแนกเป็น ครูผู้สอน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน ใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 62 คน และนักเรียน ได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีความสามารถในการอ่านและมีวิจารณญาณในการตอบแบบสอบถามจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้รายงานสร้างขึ้นโดยกำหนดกรอบแนวคิดในการสร้างแบบสอบถามจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) แบบบันทึกผลจากเอกสารที่โรงเรียนบ้านน้ำหลงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปีการศึกษา 2562 ซึ่งผู้รายงานใช้ทำการบันทึกรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ซึ่งผู้รายงานพัฒนาจากประเด็นการพิจารณาโรงเรียนเพื่อรับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) ตอนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.8312 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ซึ่งผู้รายงานสร้างขึ้นเอง แบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check List) ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.7661 การวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ผู้รายงานได้ใช้วิธีการหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ผู้รายงานได้ใช้วิธีการหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ผู้รายงานได้ใช้วิธีการหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    รายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 สรุปผลได้ ดังนี้
        1.    ผลการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้าน
น้ำหลง ปีการศึกษา 2562 พบว่า 1) นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการจัดทำระเบียนสะสม จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการเยี่ยมบ้านนักเรียน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการสัมภาษณ์นักเรียน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการประเมินความฉลาดทางอารมณ์ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการประเมินพฤติกรรม จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนได้รับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยการคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) นักเรียนได้รับการคัดกรองนักเรียน โดยมีผลการคัดกรองนักเรียน 7 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านความสามารถ จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 93.55 กลุ่มเสี่ยง - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45 ด้านที่ 2 ด้านสุขภาพ จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยง จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - ด้านที่ 3 ด้านครอบครัว จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 72.58 กลุ่มเสี่ยง จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 กลุ่มมีปัญหา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 24.19 ด้านที่ 4 ด้านสารเสพติด จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยง จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - ด้านที่ 5 ด้านความปลอดภัย จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยง จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - ด้านที่ 6 ด้านพฤติกรรมทางเพศ จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยง จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - และด้านที่ 7 ด้านอื่นๆ จำแนกเป็น กลุ่มปกติ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 กลุ่มเสี่ยง จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - กลุ่มมีปัญหา จำนวน - คน คิดเป็นร้อยละ - 3) นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนา โดยการจัดกิจกรรมโฮมรูม จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการส่งเสริม พัฒนา โดยการจัดประชุมผู้ปกครองระดับชั้นเรียน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนได้รับการส่งเสริม พัฒนา โดยการจัดกิจกรรม/โครงการส่งเสริม พัฒนานักเรียน ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้เรียน จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 22.58 โครงการรักษ์ภาษาไทย จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการพัฒนาวิชาการ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 41.94 โครงการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมการเรียนรู้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และโครงการอาหารเสริมนมและอาหารกลางวัน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 4) นักเรียนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหาโดยการให้คำปรึกษาแนะแนว จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 19.35 นักเรียนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยการติดตามและดูแลช่วยเหลือ จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 33.87 นักเรียนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหา โดยการจัดกิจกรรม/โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหา ได้แก่ โครงการ D.A.R.E. จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 29.03 การจัดสรรปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 24.19 โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการพัฒนาวิชาการ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการเสริมสร้างทักษะอาชีพ จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 41.94 โครงการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษา จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โครงการอาหารเสริมนมและอาหารกลางวัน จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 การจัดหาทุนการศึกษา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 24.19 การอบรมประจำสัปดาห์ จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 70.97 และการทำประกันอุบัติเหตุ จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 100 5) นักเรียนได้รับการส่งต่อ โดยการส่งต่อภายใน ได้แก่ การส่งต่อให้ครูแนะแนว จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 19.35 และการส่งต่อให้ครูเพื่อคัดกรองเด็กพิเศษ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 6.45 นักเรียนได้รับการส่งต่อ โดยการส่งต่อภายนอก ได้แก่ การส่งต่อเพื่อรักษาพยาบาล จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 8.06 และการส่งต่อเพื่อคัดกรองเด็กพิเศษ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 6) นักเรียนระดับปฐมวัยมีพัฒนาการระดับคุณภาพดีขึ้นไป ด้านร่างกาย จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านอารมณ์ – จิตใจ จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านสังคม จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านสติปัญญา จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 72.22 นักเรียนระดับประถมศึกษามีผลการจัดการเรียนรู้ ระดับคุณภาพดีขึ้นไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ จำนวน 37 คน คิดเป็นร้อยละ 84.09 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 81.81 และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 นักเรียนทุกระดับชั้นมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพดีขึ้นไป จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนทุกระดับชั้นมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ระดับคุณภาพดีขึ้นไป จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนทุกระดับชั้นมีผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับคุณภาพผ่าน จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 นักเรียนมีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ด้าน ระดับคุณภาพผ่าน ด้านความสามารถในการสื่อสาร จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความสามารถในการคิด จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวม ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.50 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.70 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 0.80 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.66 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.94 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 1.72 และความสามารถด้านภาษาไทย ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.63 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.46 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 0.17 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวม ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 42.42 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.99 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 4.43 เมื่อพิจารณารายวิชา พบว่า วิชาภาษาไทย ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60.72 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 49.07 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 11.65 วิชาคณิตศาสตร์ ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.88 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 32.90 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 13.98 วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.88 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 35.55 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 0.67 และวิชาภาษาอังกฤษ ระดับโรงเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 27.19 ระดับประเทศมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 34.42 โดยคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละระดับประเทศ 7.23 7) ผลงานดีเด่นระดับชาติ ที่เกิดจากการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 โดยผลที่เกิดกับนักเรียน คือ นักเรียนได้รับเกียรติบัตรระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันประดิษฐ์พานพุ่มสักการะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ณ จังหวัดสุโขทัย จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลที่เกิดกับครูผู้สอน คือ ครูผู้สอนได้รับเกียรติบัตรครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันประดิษฐ์พานพุ่มสักการะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ครั้งที่ 69 ปีการศึกษา 2562 ณ จังหวัดสุโขทัย จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผลที่เกิดกับผู้บริหารหรือโรงเรียน คือ โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรโรงเรียนขนาดเล็กที่มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนวิธีอื่นๆ จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        2.    ความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวม มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.68, S.D. = 0.12) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด โดยด้านการส่งเสริมการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.77, S.D. = 0.17) ด้านความสำเร็จของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.74, S.D. = 0.13) ด้านการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.67, S.D. = 0.25) ด้านการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.62, S.D. = 0.17) และด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.59,
S.D. = 0.28) ตามลำดับ
        3.    ความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง
ปีการศึกษา 2562 พบว่า ความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านน้ำหลง
ปีการศึกษา 2562 ในภาพรวม มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.60, S.D. = 0.14) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด โดยการส่งเสริมพัฒนา มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.75, S.D. = 0.20) การป้องกันและแก้ไขปัญหา มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด
(x ̅ = 4.64, S.D. = 0.28) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.62, S.D. = 0.33) การคัดกรองนักเรียน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.57, S.D. = 0.21) การส่งต่อ มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.51, S.D. = 0.28) และผลการดำเนินงาน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.50, S.D. = 0.25) ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^