การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5
เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย
โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es)
ประกอบชุดกิจกรรม
ผู้วิจัย นายณัฐชัย นิ่มประเสริฐ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรมครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบ ชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนเทศบาล 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 6 ห้อง ห้อง ม.6/5 (35 คน), ม.6/6 (35 คน), ม.6/7 (33 คน), ม.6/8 (33 คน), ม.6/9 (35 คน) และ ม.6/10 (35 คน) รวมทั้งหมด 206 คน โดยแต่ละห้องคละความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางและอ่อน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย สำนักการศึกษา เทศบาลนครเชียงราย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7Es) เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 แผน 2) ชุดกิจกรรมวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม ชนิดเลือกตอบ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.38 - 0.75 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.63 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.72 และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 6 นครเชียงราย จำนวน 1 ฉบับ โดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนรู้ (ชุดกิจกรรม) จำนวน 22 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามเท่ากับ 1 ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s coefficient of alpha) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบของ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีประสิทธิภาพ 83.33/82.20 สูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. นักเรียนที่เรียนด้วยจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น (7Es) ประกอบชุดกิจกรรม วิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม 5 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องฟิสิกส์นิวเคลียร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.04 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.57 และส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.07 รองลงมาคือด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.01 และด้านสื่อการเรียนรู้ (ชุดกิจกรรม) มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.01