LASTEST NEWS

06 ก.ย. 2567โรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รับสมัครครูอัตราจ้าง 6 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 11 กันยายน 2567 06 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านสามแพรก รับสมัครครูอัตราจ้าง ทุกสาขาวิชาเอก เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 ก.ย.2567 06 ก.ย. 2567เทศบาลเมืองแก่งคอย รับสมัครคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ไม่ต้องสอบแข่งขัน จำนวน 2 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,560 บาท ตั้งแต่วันที่ 9 - 13 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกระบวนการแก้ปัญ

usericon

ชื่อเรื่อง    การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกระบวนการแก้ปัญหา
ของโพลยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
        ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย        นางสุมาลี ภูสีอ่อน         

ปีที่วิจัย    2562

บทคัดย่อ

     การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียน 3.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล องค์การบริหารจังหวัดขอนแก่น จำนวน 88 คน จากห้องเรียน 2 ห้อง ห้องละ 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อ เป็นแบบปรนัย /20 ข้อ อัตนัย 5 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ .34 ถึง .73 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .29 ถึง .93 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .90 และแบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ .49 ถึง .78 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)


     ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ต่ำ แนวทางในการแก้ปัญหา ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายให้นักเรียนมีส่วนร่วมกับการจัดกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียนแก้ปัญหาด้วยตนเองและส่งเสริมให้นักเรียนคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีลาดับขั้นตอน
2. วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม/นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นสอนเนื้อหาใหม่ ขั้นฝึกทักษะ ขั้นสรุป และขั้นนำความรู้ไปใช้
3. ผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^