การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัจฉราภรณ์ ทุมทน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์
เทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัย การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทาง การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลศรีเมืองพลประชานุเคราะห์ เทศบาลเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คนโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียน ผู้ปกครอง และครูผู้สอนมีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญในการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำคล้องจอง คือทักษะการอ่าน การเขียน นักเรียน ส่วนใหญ่มีความต้องการสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมด้านทักษะการอ่าน การเขียน ในรูปแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการมากที่สุด คือ กิจกรรม ที่ส่งเสริมการเรียนรู้รายบุคคล มีภาพ เสียง มีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และไม่จำกัดเวลาเรียน
2. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.90/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. การศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า
3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.2 ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำคล้องจอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 0.80 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน ร้อยละ 80
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คำคล้องจอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.99 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.58