การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน
ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ผู้วิจัย นายเสกศักดิ์ การวินพฤติ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินการโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2562 ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองจำนวน 80 คน ครูผู้สอนจำนวน 28 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองนักเรียน ระดับอนุบาล 1-2 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 223 คน รูปแบบการประเมินเป็นการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ โดยใช้การประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านบริบท โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามกลุ่มประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านบริบท สูงสุด โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มกลุ่มครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และต่ำสุดคือ กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านบริบท น้อยที่สุดโดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกกลุ่มประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามกลุ่มประเมิน พบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านปัจจัยนำเข้า สูงสุด โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และต่ำสุดคือ กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านปัจจัยนำเข้า น้อยที่สุด โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกกลุ่มประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามกลุ่มประเมิน พบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านกระบวนการ สูงสุด โดยเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และต่ำสุดคือ กลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านกระบวนการ น้อยที่สุด มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกกลุ่มประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ด้านผลผลิต โดยภาพรวมผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกตามกลุ่มประเมิน พบว่ากลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านผลผลิต สูงสุด โดยเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มครูผู้สอน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด และต่ำสุดคือ กลุ่มคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเทศบาลตะโหมด จังหวัดพัทลุง ด้านผลผลิต น้อยที่สุด โดยมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ซึ่งทุกกลุ่มประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้