รายงานการประเมินโครงการ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.56, S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็น ( = 4.62, = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวมครูมีความคิดเห็น (= 4.62 , = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ระดับคุณภาพการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับระดับคุณภาพการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC : Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยรวม ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.76 , = 0.35) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกรายประเด็นตัวชี้วัด
4.2 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินระดับความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครอง จำแนกตามกลุ่มผู้ประเมิน ประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ย ( = 4.67 , S.D. = 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.70 , S.D. = 0.39) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( = 4.66 , S.D. = 0.44 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน
4.3 ระดับความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 ตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า
ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของครู ที่มีต่อโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC (Professional Learning Community) โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด และเกณฑ์การประเมิน พบว่า โดยภาพรวมครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.61 , = 0.31) อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
4.4 ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จำแนกเป็น
4.4.1 ผลเปรียบเทียบภาพรวมคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ก่อนการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2561 และหลังดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าพัฒนา +16.10 และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า คณิตศาสตร์ มีค่าพัฒนาสูงสุด +26.44 รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ +24.74 มีเพียงกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษา เพียงกลุ่มสาระเดียวที่ไม่มีค่าพัฒนา -4.75
4.4.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2561 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 41.54 ปีการศึกษา 2562 มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 46.54 โดยรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น +5 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้/วิชาที่ทดสอบ พบว่า กลุ่มภาษาไทย เพิ่มขึ้นสูงสุด + 15.65 รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น +9.67 ส่วนกลุ่มภาษาอังกฤษ ลดลง -6.00 ผลการเปรียบเทียบ ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ก่อนดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2561 และหลังดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 พบว่า ทุกระดับการจัดการศึกษา (ระดับประเทศ ระดับสพฐ ระดับจังหวัด และระดับสพป. สงขลา เขต 2) ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยลดลง จากปีการศึกษา 2561 ทุกระดับ ยกเว้นโรงเรียนบ้านควนเนียงใน มีค่าพัฒนา อย่างต่อเนื่อง โดยมีค่าพัฒนา +5
4.4.3 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านควนเนียงใน หลังการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 รวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 71.59 มีคุณภาพ อยู่ในระดับดีมมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายความสามารถ พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 77.25 อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาได้แก่ ความสามารถด้านภาษาไทย ร้อยละ 65.93 มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ผลเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียน บ้านควนเนียงใน กับระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับสังกัด สพฐ. และระดับประเทศ ปีการศึกษา 2562 พบว่า โรงเรียนบ้านควนเนียงใน มีคะแนนเฉลี่ยรวมความสามารถทั้ง 2 ด้าน สูงสุด ร้อยละ 71.59 รองลงมาได้แก่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 53.21 ส่วนระดับจังหวัด มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ต่ำสุด ร้อยละ 45.35
4.4.4 ผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ก่อนการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2561 รวม 2 สมรรถนะ มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 95.00 หลังการดำเนินโครงการ ปีการศึกษา 2562 รวม 2 สมรรถนะ มีค่าคะแนน เฉลี่ยร้อยละ 94.58 มีค่าพัฒนา ลดลง -.42 เมื่อพิจารณาแต่ละรายการสมรรถนะ พบว่า สมรรถนะด้านการอ่านออกเสียง มีค่าพัฒนา +.66 ส่วนด้านการอ่านรู้เรื่อง มีค่าพัฒนาลดลง -.1.50 ผลการเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละผลการทดสอบความสามารถด้านการอ่านออกของนักเรียน (Reading Test : RT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านควนเนียงใน กับระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับสังกัด สพฐ และระดับประเทศ) ปีการศึกษา 2561 รวม 2 สมรรถนะ มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงสุดร้อยละ 95.00 รองลงมาได้แก่ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ร้อยละ 70.12 ส่วนระดับภาค มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ต่ำสุด ร้อยละ 56.91 ปีการศึกษา 2562 รวม 2 สมรรถนะโรงเรียนบ้านควนเนียงใน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ร้อยละ 94.58 รองลงมาได้แก่ ระดับภาคร้อยละ 70.68 ส่วนระดับเขตพื้นที่การศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ ต่ำสุด ร้อยละ 65.66
4.4.5 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมสมรรถนะสำคัญของนักเรียนทั้ง 5 สมรรถนะ อยู่ในระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80 และเมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะสำคัญ พบว่า สมรรถนะความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงสุด ร้อยละ 86.00 รองลงมาได้แก่ สมรรถนะความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 82.00 ส่วนสมรรถนะความสามารถในการคิด มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำสุด ร้อยละ 80.00
4.4.6 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านควนเนียงใน ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ประการอยู่ในระดับดีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 90 และเมื่อพิจารณาเป็นรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์รักชาติ ศาสนกษัตริย์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ร้อยละ 98.00 รองลงมาได้แก่ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ซื่อสัตย์ สุจริตและคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 96.00 ส่วนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มุ่งมั่นในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ร้อยละ 90.00
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. กิจกรรมการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐานโดยจับคู่ PLC และนำเสนอผลงาน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไปสู่ความยั่งยืน
2. โรงเรียนควรประชาสัมพันธ์ หรือ เผยแพร่ผลสำเร็จที่เกิดกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ให้กว้างยิ่งขึ้น
3. โรงเรียนควรกำหนดมาตรการที่เป็นแรงจูงใจ เชิงบวกกรณีที่ครูสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยตรวจสอบจากพัฒนาการครอบคลุม 1) ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 2) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน 3) ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐาน (NT) ชั้น ป.3 4) ผลการประเมินความสามารถในการอ่านออก (RT) ของนักเรียน ชั้น ป.1 4) ผลการประเมินความสามารถในการอ่านออก (RT) ของนักเรียนชั้น ป.1 5) ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญ และ 6) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการประเมินโครงการต่างๆ ในระดับกลุ่มงาน หรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม
2. ควรวิจัยพัฒนาศักยภาพของชุมชนในโรงเรียน และองค์กร เครือข่ายความร่วมมือจากกลุ่ม หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาใช้ในการพัฒนาชุมชนโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้