การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย
โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ผู้วิจัย นางทัศนีย์ ระเบียบดี
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการเกี่ยวกับ
การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) นักเรียนจำนวน 309 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 213 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 จำนวน 96 คน สำหรับใช้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการประเมินคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียงของนักเรียน 2) ครูผู้สอน จำนวน 23 คน ครูปฏิบัติการสอน ระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 21 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 2 คน ใช้ในการศึกษาความสามารถใน การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 220 คน เป็นผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ใช้ในการศึกษาความพึงพอใจ ต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนด้วยรูปแบบ การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ประกอบด้วยนักการศึกษา/ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง 3) แบบประเมินความสามารถในการจัด การเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง 6) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน และ 7) แบบสอบถามเพื่อ การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิติการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของความต้องการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนพบว่า ครูผู้สอนต้องการให้ผู้บริหารได้สร้างรูปแบบและวิธีการหรือขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษา (รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ) โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส จึงได้นำความต้องการที่ได้จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและผลการประชุมเชิงปฏิบัติการของครูผู้สอนในโรงเรียน เพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับใช้จัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion : FGD) บุคลากรในโรงเรียน เพื่อร่วมกันสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามความต้องการของครูผู้สอน เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนเป็นคนดีมีความพอเพียงต่อไป โดยผู้วิจัยได้นำความต้องการดังกล่าวไปใช้ร่วมกับการศึกษาหลักการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สำหรับนำมาจัดทำเป็นเอกสารความรู้ ประกอบการจัดสนทนากลุ่มของบุคลากรในโรงเรียน
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส ที่สร้างขึ้นมีชื่อว่า APKLCS Model มีองค์ประกอบ จำนวน 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบทบาทผู้บริหาร (Administrating of Role : A) ด้านการมีส่วนร่วม (Participating : P) ด้านการให้ความรู้ (Knowledge: K) ด้านการจัดการเรียนรู้ (Learning : L) ด้านการพัฒนาคุณลักษณะ (Characteristic of Developing : C) และด้านความพอใจ (Satisfaction : S) โดยรวมรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง มีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.72 โดยทั้งรูปแบบและองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน มีความเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ รูปแบบการบริหารที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 5.00 รองลงมาเป็นองค์ประกอบด้านบทบาทผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.75 องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม กับด้านการให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.72 ด้านการจัด การเรียนรู้กับด้านการพัฒนาคุณลักษณะ มีค่าเฉลี่ย 4.70 และด้านความพอพึงใจมีค่าเฉลี่ย 4.69 ตามลำดับ
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส ผู้วิจัยนำเสนอผลการวิจัย ดังนี้
3.1 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ด้วยการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูผู้สอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 คิดเป็น ร้อยละ 11.97 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2561 สูงกว่าปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 0.21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยรวมทั้งสองระดับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2561 สูงกว่า
ปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 6.09
3.2 การศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส พบว่า ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.77 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.79 รองลงมาคือ ด้านการจัด การเรียนรู้ กับด้านการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.78 ลำดับต่อมาคือ ด้านการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.75 ตามลำดับ
3.3 การประเมินคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส พบว่า โดยรวมนักเรียนมีคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย 4.74 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านนักเรียนมีคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง อยู่ในระดับดีมาก โดยสูงสุดคือ ด้านความพอประมาณ มีค่าเฉลี่ย 4.77 รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.75 ลำดับต่อมาคือ ด้านความมีเหตุผล และเงื่อนไขคุณธรรมมีค่าเฉลี่ย 4.73 และด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี มีค่าเฉลี่ย 4.72 ตามลำดับ
3.4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน
พบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ด้านการบริหารที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.76 โดยทุกด้าน ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมีค่าเฉลี่ย 4.79 รองลงมาคือ ด้านการ มีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.77 ลำดับต่อมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ย 4.76 และด้านการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.73 ตามลำดับ
4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่สุทธาวาส พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาคุณลักษณะคนดีมีความพอเพียง ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 วัดโล่ห์สุทธาวาส มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73 โดยทั้งรูปแบบและองค์ประกอบทั้ง 6 ด้าน มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ย 5.00 รองลงมาคือ ด้านบทบาทผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.76 ลำดับต่อมาคือ ด้านการ มีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.74 ด้านการจัดการเรียนรู้ กับด้านความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ย 4.71 ด้านการพัฒนาคุณลักษณะ มีค่าเฉลี่ย 4.70 และด้านการให้ความรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.69 ตามลำดับ สามารถนำออกเผยแพร่เป็นผลงานทางวิชาการได้ต่อไป