การพัฒนารูปแบบการสอนห้องเรียนกลับด้าน
ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นายธีระ ปฐมวงษ์
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development) 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอน ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการสอน ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการสอน ขั้นที่ 4 การประเมินรูปแบบด้วยการศึกษาความพึงพอใจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 25 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง แนวทางการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสมของร่างรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 ข้อ 2) แบบสอบถามความเหมาะสม ของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
3. เพื่อทดลองรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) คู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 25 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ พบว่า 1.1 ร่างรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) บทบาทผู้เรียน 5) ระบบสังคม 6) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอน 5 ขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นเตรียมความพร้อม (Stimulation) ขั้นจัดการเรียนการสอน (Practcing) ขั้นแสวงหาความรู้ (Exploring) ขั้นสรุปความรู้ (Concluding) ขั้นการวัดผลและประเมินผล (Assessing)
1.2 ความต้องการในการพัฒนาการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า ควรพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียน กลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยจัดการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนไปเรียนที่บ้านและมาทำการบ้านที่โรงเรียน โดยใช้สื่อการสอนที่เหมาะสมในแต่ละรายวิชา โดยมีสื่อหลักคือบทเรียนออนไลน์ เมื่อถึงเวลาเรียนในห้องเรียนครูและนักเรียนนำเนื้อหามาอภิปรายสรุปความรู้และทำงานภาคปฏิบัติในห้องเรียนโดยครูเป็นคนคอยให้คำแนะนำในการการจัดการเรียนรู้โดยมีครูผู้สอนคอยเป็นผู้ที่ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ตอบข้อสงสัยของนักเรียนในห้องเรียน รวมทั้งทำให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดและวิเคราะห์ และเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ครูเป็นเพียงผู้ที่คอยชี้แนะและอำนวยความสะดวก
2. การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 พบว่า
2.1 รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) ระบบสังคม 5) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอน 5 ขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นเตรียมความพร้อม (Stimulation) ขั้นจัดการเรียนการสอน (Practcing) ขั้นแสวงหาความรู้ (Exploring) ขั้นสรุปความรู้ (Concluding) ขั้นการวัดผลและประเมินผล (Assessing)
ความเหมาะสมของร่างรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ประสิทธิภาพจากการทดลองใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครั้งที่ 3 มีค่า 81.27/80.50 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 83.96/83.06 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก