การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้ศึกษา นางสาวจิตลดา กองแก้ว
ปีที่ศึกษา 2562
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม
เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 5. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะการปฏิบัติวิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ห้อง รวม 30 คน โรงเรียนเทศบาล ๒ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางxxxร) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และทดสอบค่าที ผลการศึกษาพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 80.52/80.25 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.63 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม วิชางานประดิษฐ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมมีระดับคะแนนเฉลี่ย 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด