รายงานการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ ที่เอื้อต่อ
ผู้ประเมิน แสงเดือน วินทะไชย รองผู้อำนวยการ วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี โดยใช้รูปแบบการประเมินโครงการของ มาร์วิน ซี. อัลคิน (Marvin C. Alkin .1972) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การประเมินระบบของโครงการ (system assessment) 2) การประเมินเพื่อวางแผนโครงการ (program planning) 3) การประเมินการนำไปใช้หรือการดำเนินโครงการ (program implementation) 4) การประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการ (program improvement) และ 5) การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการ (program certification) จำแนกเป็น 5.1) ความพึงพอใจของนักเรียน และ 5.2) ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 668 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จำนวน 75 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 290 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ หาค่าความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
การประเมินโครงการครั้งนี้ผู้ประเมินได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลได้ดังนี้
1. การประเมินระบบของโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การประเมินเพื่อวางแผนโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินการนำไปใช้หรือการดำเนินโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด
4. การประเมินเพื่อปรับปรุงโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
5. การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
6. การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ด้านความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
7. การประเมินเพื่อการยอมรับโครงการพัฒนาภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี ด้านความพึงพอใจของของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด