LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะ

usericon

หัวข้องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ผู้วิจัย    ปณัชชภัค หุ่นงาม
ปีการศึกษา    2562
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะ รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะ รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะ รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ (4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนอาชีวศึกษาบนฐานสมรรถนะ รายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการเป็นผู้ประกอบการ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา จำนวน 10 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ นักเรียนระดับชั้น ปวช.1 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทศบาลนครปฐม สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ ปีการศึกษา 2562 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ 2) เครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพเบื้องต้น ได้แก่ แบบประเมินความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้อง 3) เครื่องมือในการทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ และแบบประเมินความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน 4) เครื่องมือการประเมินประสิทธิผล และปรับปรุงรูปแบบให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
สรุปผลการวิจัย ดังนี้
1. การศึกษาสภาพปัจจุบัน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจลักษณะการสอนแบบโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) ร่วมกับการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) และการจัดการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) ต้องการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของธุรกิจ และแนวทางการเป็นผู้ประกอบการที่สามารถนำไปใช้ได้จริงหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว ส่วนความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา สรุปได้ว่า ด้านเนื้อหาสาระควรเป็นเนื้อหาตามหลักวิชาการที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ได้ โดยเน้นเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับชั้น และเขียนเนื้อหาให้ละเอียดครอบคลุมจุดประสงค์ที่กำหนดในแต่ละเรื่อง ควรแยกเนื้อหาออกเป็นเรื่อง ๆ มีสื่อประกอบการสอน การวัดผลและประเมินผล ควรมีทั้งแบบทดสอบ และแบบสังเกตพฤติกรรม ควรคำนึงถึงเรื่องงบประมาณในการจัดทำสื่อให้พอเหมาะ การเขียนเนื้อหาควรสืบค้นข้อมูลทางวิชาการให้ครบถ้วน ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้ ควรจัดทั้งในเวลาเรียนปกติ และมอบหมายให้นักเรียนศึกษานอกเวลาเรียน
2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ คือ 1) หลักการ 2) แนวคิด ทฤษฎี 3) วัตถุประสงค์ 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นผู้เรียน (Stimulation) (2) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction) (3) ขั้นวิเคราะห์และลงข้อสรุป (Analysis and Summarization) (4) ขั้นประยุกต์ใช้ (Application) (5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) และ (6) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) 5) การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ และ 6) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ รูปแบบมีค่าความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบจากการประเมินประสิทธิภาพแบบภาคสนาม (Field Tryout) ได้เท่ากับ 83.06/86.15
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับสูง
4. ประเมินผลการใช้รูปแบบการ พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบ มีค่าเท่ากับ 83.88/88.20 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^