การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริม ความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางรอฮานา ศรีสุข
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 4) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่องของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนหรือไม่
5) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านลดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 15 คน เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ องค์ประกอบเชิงกระบวนการมีการดำเนินการ
6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ทบทวน (R : Review) ขั้นที่ 2 สังเกต (O : Observe) ขั้นที่ 3 ช่วยเหลือ (H : Help) ขั้นที่ 4 ปฏิบัติ (A : Act) ขั้นที่ 5 บรรยาย (N : Narrate) ขั้นที่ 6 สรุป (A : Abstract)
2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.96/87.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. หลังการเรียนการเรียนสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมพบว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 24.17
4. หลังการเรียนการเรียนสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมพบว่าคะแนนความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่องของนักเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 17.67
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ROHANA Model เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านในใจและการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅= 4.57, S.D. = 0.65)