การพัฒนาโรงเรียนบ้านป่าคลอกระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบ Apples
Plan : วางแผนอย่างมีเป้าหมาย
Participation : หลากหลายการมีส่วนร่วม
Leaning : รวมผ่านการเรียนรู้
Evaluation : การประเมินผล
Show : แสดงผลการเผยแพร่สู่สาธารณะ
ชื่อนวัตกรรม :: การพัฒนาโรงเรียนบ้านป่าคลอกระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบ Apples
ผู้จัดทำ :: นงนภัส พิกุลผล
ตำแหน่ง :: ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่าคลอก จ.ภูเก็ต
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของนวัตกรรม
โรงเรียนบ้านป่าคลอกจัดเป็นโรงเรียนขนาดกลาง ซึ่งมีจำนวนนักเรียนที่ลดลงทุกปี ตั้งแต่ปี 2552-2554 ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มจำนวนนักเรียนหรือรักษาสภาพไม่ให้ลดลงไปอีก จากการสำรวจสภาพปัญหาพบว่า นักเรียนในระดับปฐมวัยมีจำนวนที่ลดลง จึงส่งผลให้ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 มีจำนวนลดลงตามลำดับ อันเนื่องมาจากโรงเรียนบ้านป่าคลอกเป็นชุมชนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างไทยพุทธและไทยมุสลิม โดยชาวไทยพุทธที่มีฐานะดีก็จะส่งลูกไปเรียนในตัวเมืองหรือในโรงเรียนระดับจังหวัด ส่วนไทยมุสลิมก็จะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนสอนศาสนา จึงส่งผลให้ขาดความสนใจ ร่วมมือ ร่วมใจ และความสัมพันธ์เข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
จากสภาพดังกล่าวหากโรงเรียนไม่สนใจพัฒนาคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับของชุมชน จำนวนนักเรียนก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ซึ่งทางโรงเรียนบ้านป่าคลอกได้ให้ความสำคัญว่า นักเรียนที่เข้ามาเรียนในระดับปฐมวัยก็คงเรียนต่อในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ด้วย
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพของการศึกษาในระดับปฐมวัย
2. เพื่อให้จำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าคลอกมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น
1.3 สมมติฐานของการวิจัย
1.3.1 การใช้นวัตกรรม “การพัฒนาโรงเรียนบ้านป่าคลอกระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบ Apples” ส่งผลให้โรงเรียนที่ยอมรับของชุมชนโดย
1.3.2 การใช้นวัตกรรมการบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by objective หรือ MBO) ผสมผสานกันกับการใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม การบริหารเชิงระบบ การสร้างแรงจูงใจ การสร้างทีมงาน และการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันทั้งหน่วยงานซึ่งสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการที่เกิดขึ้น
1.3.3 การดำเนินการตามรูปแบบที่ออกแบบไว้ ด้วยรูปแบบ “Apples” สามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.3.4 การประชุมร่วมของผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง เพื่อการวิเคราะห์สภาพปัญหา โดยในการวางแผน การดำเนินงาน การประเมินและสรุปผลเพื่อการพัฒนานวัตกรรม
1.3.5 นักเรียนในระดับปฐมวัยมีคุณภาพและประสิทธิภาพในด้านการศึกษา และยังส่งผลให้จำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
1.3.6 นักเรียนในระดับปฐมวัยมีการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณในทางที่ดีขึ้น ในปีการศึกษา 2555-2556
1.3.7 การใช้ทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับบริบทของนวัตกรรม
1.3.8 กระบวนการพัฒนานวัตกรรมส่งผลให้มีความสัมพันธ์เข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
1.3.9 การพัฒนาโรงเรียนบ้านป่าคลอกระดับปฐมวัยด้วยรูปแบบ Apples มีกระบวนการนำไปใช้ที่ง่ายและสะดวก
1.3.10 เป็นแนวทางสำหรับการนำไปใช้และพัฒนาต่อไป