ขอเผยผลงานวิจัย
โรงเรียนอนุบาลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561-2562
ชื่อผู้วิจัย : นางฝาริดะ หมื่นชล
ปีการศึกษา : 2561-2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2561-2562 2. เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 3. เพื่อศึกษาคุณภาพผู้เรียนหลังการพัฒนา จำแนกเป็น 3.1 ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา 3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ มัธยมศึกษาปีที่ 3 3.3 ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (Natioal Test :NT) นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 4. เพื่อศึกษาผลการประเมินมาตรฐานระดับการศึกษาขึ้นพื้นฐานของโรงเรียน ตามระบบการประกันคุณภาพภายใน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน ประเด็นที่ 1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน ประเด็นที่ 2 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ที่มีต่อการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL หลังการพัฒนา
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 291 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 270 คน, ครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 จำนวน 291 คน ผู้ปกครองปี2562 จำนวน 270 คน, คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และ 2562 มีจำนวนเท่ากัน จำนวน 13 คน เครือข่ายชุมชน ปี 2561 และ 2562 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 2 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.986-0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS version 18
ผลวิจัยพบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก
(x- =3.94, S.D.= 0.83 ) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก
(x- =3.86, S.D.= 0.63) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x- =3.67, S.D.= 0.53)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x- =4.48, S.D.= 0.41) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก (x- =4.42, S.D.= 0.53) ส่วนกลุ่มกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก (x- =4.34, S.D.= 0.36)สอดคล้องกับสมมุติฐาน
2. ผลการเปรียบเทียบ พฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะ ความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 และ 2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 พบว่า ที่สะท้อนคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมทุกด้านมีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าร้อยละ 80 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าความมีวินัย มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด (86.20) รองลงมาได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ (ร้อยละ 85.94) ส่วนด้านความพอเพียงมีค่าเฉลี่ย ร้อยละต่ำสุด (ร้อยละ 82.57)
ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 พบว่า พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียน ทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมทุกด้านมีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ สูงกว่าร้อยละ 80 เมื่อพิจารณาแต่ละด้านพบว่าความมีวินัย มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด (ร้อยละ 92.10 รองลงมาได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านจิตสาธารณ/จิตอาสา และด้านความพอเพียงมีค่าเฉลี่ยร้อยละเท่ากัน (ร้อยละ 91.14, 91.11 และ 91.16) สอดคล้องกับมาตรฐาน
3. ผลวิเคราะห์คุณภาพผู้เรียน สะท้อนคุณลักษณะความมีวินัยในตนเองของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู ปีการศึกษา 2561-2562
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา แสดงว่า ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระดับสถานศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลละงูก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า
- ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2560]; เกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละ
รายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป โดยภาพรวม ร้อยละ 57.01
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 เกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละ
รายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป โดยภาพรวม ร้อยละ 51.63
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 เกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละ
รายวิชาในระดับ 3 ขึ้นไป โดยภาพรวมร้อยละ 53.70
ปีการศึกษา 2561 รายวิชาที่มี ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป ดังนี้ คือ รายวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือร้อยละ 73.00 รองลงมาคือรายวิชา คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 63.00 และรายวิชา ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายวิชา ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 46.00
ปีการศึกษา 2562 รายวิชาที่มี ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับ 3 ขึ้นไป ดังนี้ รายวิชา ศิลปะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ร้อยละ 85.59 รองลงมา คือรายวิชา สุขศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.92 และรายวิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ รายวิชา ภาษาอังกฤษ มีเฉลี่ยร้อยละ 31.18
3.2 แสดงผลการเปรียบเทียบการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
3.2.1 ผลการเปรียบเทียบการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังพัฒนา พบว่า
- ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2560 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมร้อยละ 36.36
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมร้อยละ 40.55
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมร้อยละ 34.94
ปีการศึกษา 2561 มีผลทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) รายวิชาภาษาไทย มี คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ร้อยละ 56.39 รองลงมา คือรายวิชา วิทยาศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยร้อยละ 38.14 ส่วนรายวิชา คณิตศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยต่ำสุด คือร้อยละ 33.60
ปีการศึกษา 2562 มีผลทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชา ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ 47.42 รองลงมาคือรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยร้อยละ 33.20 ส่วนรายวิชาภาษาอังกฤษ มีผลทดสอบเฉลี่ยต่ำสุด คือ ร้อยละ 28.58
3.2.2 แสดงผลการเปรียบเทียบการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ปีการศึกษา 2561-2562 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า
- ก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2560 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมร้อยละ 29.77
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2561 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมร้อยละ 35.01
- หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมร้อยละ 32.58
ปีการศึกษา 2561 มีผลทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) รายวิชาภาษาไทย มี คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ ร้อยละ 49.63 รองลงมา คือรายวิชา วิทยาศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยร้อยละ 32.17 ส่วนรายวิชา คณิตศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยต่ำสุด คือร้อยละ 28.67
ปีการศึกษา 2562 มีผลทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชา ภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ 51.63 รองลงมาคือรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยร้อยละ 29.63 ส่วนรายวิชาคณิตศาสตร์ มีผลทดสอบเฉลี่ยต่ำสุด คือ ร้อยละ 21.00
3.3 ผลการประเมินการทดสอบพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) สรุปได้ดังนี้ ปีการศึกษา 2561
- ก่อนการพัฒนา ปีการศึกษา 2560 ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) โดยภาพรวม ร้อยละ 47.17
- หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) โดยภาพรวม ร้อยละ 52.23
- หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT) โดยภาพรวม ร้อยละ44.51
- ความสามารถด้านภาษา มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงสุดคือมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 55.94 คือ ปีการศึกษา 2561 รองลงมา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 55.31 คือ ปีการศึกษา 2560 และ คะแนน ต่ำที่สุดมีคะแนนร้อยละ 43.17 คือ ปีการศึกษา 2562
- ความสามารถด้านคำนวณ มีคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงสุดคือมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 48.51 คือ ปีการศึกษา 2561 รองลงมามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45.84 คือ ปีการศึกษา 2562 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด มีคะแนนร้อยละ 39.93 คือ ปีการศึกษา 2560
4. ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน
4.1 แสดงผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน (ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) โดยภาพรวม ประเด็นพิจารณาที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์วิชาการของพบว่า ตัวชี้วัด 1.1.6 เจตคติต่ออาชีพมีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด และมีระดับคุณภาพ ระดับ ดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 79.13 รองลงมา คือ ตัวชี้วัดที่ 1.1.2 ด้านวิเคราะห์ มีระดับคุณภาพ ระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 77.50และตัวชี้วัด 1.1.1 ด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุด และมีระดับคุณภาพ ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 68.44 สอดคล้องกับมาตรฐาน
4.2 แสดงผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ) โดยภาพรวม ประเด็นพิจารณาที่ 1.1 ผลสัมฤทธิ์วิชาการของพบว่าตัวชี้วัด 1.1.3 สร้างนวัตกรรม มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด และมีระดับคุณภาพ ระดับ ปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 69.04 รองลงมา คือ ตัวชี้วัดที่ 1.1.6 เจตคติต่ออาชีพ มีระดับคุณภาพ ระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 68.40 และตัวชี้วัด 1.1.1 ด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุด และมีระดับคุณภาพ ระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 53.51 สอดคล้องกับมาตรฐาน
4.3 ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน (ระดับชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1-6) โดยภาพรวม ประเด็นพิจารณา 1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ตัวชี้วัด 1.2.2ความภูมิใจท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด และมีระดับคุณภาพ ระดับ ดีเลิศ มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 87.36 รองลงมา คือ ตัวชี้วัดที่ 1.2.4 สุขภาวะทางกาย มีระดับคุณภาพ ระดับดีเลิศ มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.83 และตัวชี้วัด 1.2.3 การยอมรับแตกต่าง มีค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุด และมีระดับคุณภาพ ระดับดีเลิศ เช่นกัน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.09
4.4 ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) โดยภาพรวม ประเด็นพิจารณา 1.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า ตัวชี้วัด 1.2.4 สุขภาวะทางกาย มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด และมีระดับคุณภาพ ระดับ ดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.33 รองลงมา คือ ตัวชี้วัดที่ 1.2 ค่านิยม มีระดับคุณภาพ ระดับดี มีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 74.00 และตัวชี้วัด 1.2.2 ภูมิใจท้องถิ่น มีค่าเฉลี่ยร้อยละน้อยที่สุด และมีระดับคุณภาพ ระดับดี เช่นกัน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.50 สอดคล้องกับมาตรฐาน
5. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนใน การ เสริมสร้างความมีวินัยในตนเอง ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ 5G MODEL โรงเรียนอนุบาลละงู ปีการศึกษา 2561- 2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า นักเรียนและ ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x- = 3.80, S.D. = 0.78, 0.81) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมาก (x- = 3.75, S.D. = 0.70) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( x-= 3.59, S.D. = 0.69)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครองและเครือข่ายชุม มีความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (x- = 4.28, S.D. = 0.43) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก (x- = 4.24, S.D. = 0.39) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก เช่นกัน (x- = 4.07, S.D. = 0.52) สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ด้าน G1= Good Friend (เพื่อนดี) เนื่องจากเพื่อน คือ บุคคลที่นักเรียนคบหา คุยกัน คอยให้คำปรึกษา ในทุกๆ เรื่อง คอยชักชวนไปในทางที่ดีเช่น ชวนกันอ่านหนังสือ ช่วยกันติวข้อสอบ ถ้าคบเพื่อนที่ดีจะทำให้ชีวิตมีอนาคตสดใสมีการงานที่ดี แต่ถ้าคบเพื่อนชั่วชีวิตเราจะตกต่ำลงเนื่องจากจะชวนกันทำในสิ่งที่ไม่ดีดังนั้นการคบเพื่อนมีความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตของวัยรุ่นเพราะเพื่อนจะมีอิทธิพลในเรื่องความคิดความเชื่อตลอดจนให้คำปรึกษา หรือแนะนำในเรื่องต่างๆ รวม ทั้งพฤติกรรมทางเพศ และอาจชักจูงไปในทาง ที่ดีและไม่ดี ดังนั้นการเลือกคบเพื่อนที่ดีจะช่วยแนะนำเรื่องพฤติกรรมทางเพศในทางที่เหมาะสม
1.2 ด้าน G2=Good Teacher (ครูดี) เนื่องจากครูไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทั้งทางด้านสติปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วยดังนั้น ครูต้องเป็นผู้ที่ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน และนักเรียนส่วนมากจะมีครูอย่างน้อยหนึ่งคนที่ยึดเป็นต้นแบบและนักเรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นแบบจะติดตามไปตลอดชีวิต
1.3 ด้าน G3=Good Family (ครอบครัวดี) เนื่องจาก ครอบครัว เป็นสถาบันแห่งแรกที่อบรมทางด้านจิตใจและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพให้แก่นักเรียน โดยประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูก ถือเป็นสถาบันหลักในการดูแลและเลี้ยงดูถ้าครอบครัวใดที่พ่อแม่และบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาและ ถ่ายทอดสิ่งที่ ดีมีคุณค่ากับเด็ก เด็กก็จะได้รับการซึมซับสิ่งที่ดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ แต่ถ้าเด็กที่เกิดในครอบครัวที่เป็นแบบอย่างในทางตรงข้าม เช่น พ่อ แม่ หรือบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาน้อย ยากจน พ่อแม่มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น พูดจาหยาบคาย ไม่สุภาพ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเด็กก็จะ ซึมซับเอาพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง ดังนั้น ครอบครัวจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมต่างๆ ของนักเรียน
1.4 ด้าน G4 = Good Administration (การบริหารจัดการดี) เนื่องจากโรงเรียน ต้องกำหนดแนวนโยบายที่ชัดเจน เพื่อสร้างเสริมและปลูกฝังนักเรียนให้เป็นผู้มีวินัยในตนเอง สามารถประพฤติปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียนและของสังคมทั่วไป สามารถควบคุมดูแลตนเอง และสังคมส่วนรวมให้อยู่ร่วมกันได้ด้วยความสงบสุข อันจะมีผลทำให้โรงเรียนสามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ไปด้วยความสงบเรียบร้อยและนักเรียนเองก็สามารถทำการศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยความราบรื่น ปราศจากความเดือดร้อนวุ่นวาย อันเกิดจากการที่นักเรียนขาดวินัยขาดความรับผิดชอบ ยิ่งกว่านั้นการที่โรงเรียนสามารถปลูกฝังให้นักเรียนสามารถประพฤติปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกที่ควรด้วยตัวของเขาเอง ย่อมจะช่วยให้นักเรียนเจริญเติบโตเป็นพลเมืองดีของประเทศต่อไปด้วยดี อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ตนเองและแก่สังคมส่วนรวมในอนาคต
1.5 ด้าน G5= Good Environment (สื่อ บรรยากาศ และแหล่งเรียนรู้ดี) เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่จะต้องพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สื่อต้นแบบที่สำคัญทั้งภายในและนอกโรงเรียน หรือถ้าหากนักเรียนอยู่ในชุมชนที่มีระบบการจัดการที่ดีมีแบบอย่างทาง พฤติกรรมที่เหมาะสม และ มีกิจกรรมที่กระตุ้นหรือส่งเสริมเด็กและเยาวชนเข้ามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนด้วยแล้ว จะช่วยให้เด็กและเยาวชนมีจิตสาธารณะ คิดเพื่อส่วนรวมและชุมชนที่ตนเองอาอาศัยอยู่ ช่วยกันพัฒนาชุมชนให้มีความเจริญก้าว หรือสำนึกรักบ้านเกิด ซึ่งนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของ การเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคตต่อไป
1.6 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของความเป็นคนดีของนักเรียนและ ทบทวนกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของโรงเรียน เช่นในด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงของครู การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายแห่งรัฐ อย่างน้อยปีละ1 ครั้ง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินและวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนอย่างยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวินัยในตนเองของนักเรียนกับสภาพแวดล้อมของบ้าน โรงเรียน วัด และหรือมัสยิด ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
2.3 ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของความมีวินัยในตนเองของนักเรียนที่มีต่อชุมชนและสังคมโดยรอบสถานศึกษา