LASTEST NEWS

23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งพี่เลี้ยง 5 อัตรา วุฒิม.3-ปวส.ทุกสาขา เงินเดือน 10,430-13,800 บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567สพป.อำนาจเจริญ เปิดสอบพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน 38 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครระหว่างวันที่ 2-12 ธันวาคม 2567 23 พ.ย. 2567#ไม่ต้องผ่านภาค ก กรมทางหลวงชนบท เปิดสอบพนักงานราชการ 111 อัตรา สมัครออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 - 29 พฤศจิกายน 2567 ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ 22 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านผารางวังหม้อ(มิตรประชา) รับสมัครครูผู้สอน วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) 22 พ.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 6 อัตรา - รายงานตัว 25 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567สพป.พังงา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 6 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 28 พฤศจิกายน 2567 22 พ.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 55 อัตรา - รายงานตัว 9 ธันวาคม 2567 22 พ.ย. 2567โรงเรียนสารวิทยา ประกาศปิดเรียนกรณีพิเศษ ช่วงเทศกาลปีใหม่ มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค.67 - 5 ม.ค.68 21 พ.ย. 2567​​​​​​​กองบัญชาการกองทัพไทย รับสมัครพนักงานราชการ 131 อัตรา สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 8 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส

usericon

การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส
ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
ผู้วิจัย        นางธนัญญพัฒน์ ฤาชา
โรงเรียน        โรงเรียนเนินสง่าวิทยา
ปีที่พิมพ์        2556
ผู้ตรวจสอบก่อนเผยแพร่     ดร.นภาพร แก้วดวงดี, ดร.ศิริพร พึ่งเพชร, ดร.มลิวัน ศรีโคตร

[center]บทคัดย่อ[/center]

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัด การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูผู้สอน และนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยใช้ประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครู จำนวน 32 คน แยกเป็น ครูผู้นิเทศ จำนวน 8 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 24 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 607 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%) โดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed Ranks Testและ ค่าที (t-test) แบบ Dependent
    ผลการวิจัยพบว่า
    1)     การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ 3) การนำรูปแบบไปใช้ และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ ผลการออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการนิเทศภายใน ได้รูปแบบการนิเทศภายในชื่อว่า พีไอพีอี (PIPE Model) เป็นรูปแบบการนิเทศภายในที่เน้นกระบวนการนิเทศที่เป็นระบบ โดยพัฒนาขึ้นตามหลักการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อให้การนิเทศภายในเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 Planning : P ขั้นวางแผน การนิเทศ ขั้นตอนที่ 2 Informing : I ขั้นการให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 Proceeding : P ขั้นดำเนินงาน ได้แก่ 3.1 การประชุมก่อนการสังเกตการจัดการเรียนรู้ 3.2 การสังเกตการจัดการเรียนรู้ 3.3 การประชุมหลังการสังเกตการจัดการเรียนรู้และขั้นตอนที่ 4 Evaluating : E การประเมินผลการนิเทศ
    2)     ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเนินสง่าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ พบว่าสมรรถภาพในการนิเทศภายในของครูผู้นิเทศหลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน แบบพีไอพีอี (PIPE Model) โดยภาพรวม ครูผู้นิเทศมีสมรรถภาพในการนิเทศอยู่ในระดับสูงมาก มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังใช้รูปแบบ การนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูผู้รับการนิเทศมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศการสอนก่อนและหลังใช้รูปแบบการนิเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สมรรถภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้รับการนิเทศที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับสูง ความพึงพอใจของครูผู้รับการนิเทศที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนแบบพีไอพีอี(PIPE Model)อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เกิดจากการจัด การเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
12 พ.ย. 2556 เวลา 00:16 น. 0 1,800
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^