รายงานการสร้างและผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์
เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้รายงาน นายอนุวัฒน์ ขอบปี
สถานศึกษา โรงเรียนเนินพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
ปีที่รายงาน 2556
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในปัจจุบันพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากครูผู้สอนยังขาดการพัฒนาสื่อนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและศึกษาเอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กับนักเรียนที่เรียนตามปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่มีต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยเอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเนินพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 14 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t - test (Dependent Samples)
ผลจากการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.89 / 86.25
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนการทดสอบหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความพึงพอใจต่อวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
โดยสรุป เอกสารประกอบการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์ประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ในการสอนได้ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาควรให้ความสนใจในการจัดอบรมเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการสร้างเอกสารประกอบการเรียนที่มีประสิทธิภาพ