LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                 รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม
                ของชุมชน โรงเรียนบ้านทรายขาว ด้วยรูปแบบ TEAM Model
ชื่อผู้ประเมิน            ธีระพันธ์ ยั่งยืนทวี
ตำแหน่ง                ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการ
ระยะเวลาที่ประเมิน    ปีการศึกษา 2562

    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนบ้านทรายขาว ด้วยรูปแบบ TEAM Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context) ประเมินปัจจัย (Input) ประเมินกระบวนการ (Process) ประเมินผลผลิต (Product) ประเมินผลกระทบ (Impact) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability) และประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) ของโครงการโดยนำรูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของ Daniel L. Stufflebeam มาประยุกต์ใช้ในการประเมินครั้งนี้ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน 4 ประการ คือ การทำงานเป็นแบบอย่างด้วยตนเอง (Typically : T) การเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน (Enter : E) การบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Management) และการจูงใจให้ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียน (Allure : A) ประชากรคือกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน โรงเรียนบ้านทรายขาว ปีการศึกษา 2562 จำนวน 140 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan จำนวน 105 คน ประกอบด้วยครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 58 คน นักเรียน เฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 จำนวน 31 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน (ยกเว้นครูและผู้บริหาร) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่แบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ หาความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
    ผลการประเมินในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยสรุปเป็นรายด้าน ได้ดังนี้
    ด้านบริบท (Context) พบว่า โครงการมีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของนักเรียน สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของโรงเรียน และสอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
    ด้านปัจจัย (Input) พบว่า ด้านการบริหารจัดการ และด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นการวางแผน ขั้นการดำเนินการ ขั้นติดตามและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนขั้นปรับปรุงและพัฒนา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านผลผลิต (Product) พบว่า การทำงานเป็นแบบอย่างด้วยตนเอง (Typically : T) และการเข้าไปมีส่วนร่วมกิจกรรมของชุมชน (Enter : E) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ (Management) และด้านการจูงใจให้ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียน (Allure : A) มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
    ด้านผลกระทบ (Impact) พบว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อผู้เรียน ชุมชน และโรงเรียน โดยนักเรียนมีสถานที่สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ ชุมชนได้มีโอกาสใช้สถานที่ของโรงเรียนจัดกิจกรรมต่างๆ และ นักเรียนมีความสุขกับการเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียน ครูมีการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแหล่งเรียนรู้ และ โรงเรียนได้รับรางวัลจากการประเมิน ประกวด แข่งขันระดับต่างๆ
    ด้านประเมินประสิทธิผล (Effectiveness) พบว่า การลงมือปฏิบัติเองด้านอาคารสถานที่ของผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีของครู นักเรียน และชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนของผู้บริหารและบุคลากรได้รับการตอบรับจากชุมชนเป็นอย่างดี ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนด้วยความเต็มใจ สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน และการบริหารด้านอาคารสถานที่บรรลุเป้าหมาย
    ด้านความยั่งยืน (Sustainability) พบว่ามีการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนเป็นประจำตลอดปี ชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ และผู้บริหารปฏิบัติงานด้านพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารสถานศึกษา
    ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability) พบว่าโรงเรียนได้เผยแพร่ผลงานด้านแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนได้รับรางวัลด้านการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนได้สร้างเครือข่ายการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่น และ มีสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นมาศึกษาดูงานที่โรงเรียน
    สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในประเด็นผู้บริหารโรงเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชนของนักเรียน นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสภาพแวดล้อมก่อนเปิดภาคเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตกแต่งห้องเรียน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปูกระเบื้องลานธรรม

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^