รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ ค
หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวฝาย
ชื่อผู้รายงาน นางสุรีย์ฉาย ไชยะหมื่น
ปีที่ทำการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวฝาย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวฝาย และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจักดารเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน และการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชาการที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านหัวฝาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
เศษส่วน และการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6จำนวน 1 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ฉบับ มีลักษณะเป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า ( Rating Scale) จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.33/85.11 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80
2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 ได้คะแนนเฉลี่ย 25.53 เท่ากับร้อยละ 85.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายคน ปรากฏว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ทุกคน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและการบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อปรากฏว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ รายการที่ 10 นักเรียนมีความเข้าใจเรื่องเศษส่วนมากขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80