LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒

usericon

ชื่อผลงาน     การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒        
ผู้วิจัย     นางสาววิภาวัลย์ พงศาบวรลักษณ์

หน่วยงาน    โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 101 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 11 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 45 คน ผู้ปกครอง จำนวน 45 คน รวม 90 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ และแบบประเมินความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตรา ส่วนประมาณค่า (Rating Scale) กำหนดค่าระดับ 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินด้านบริบท ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .43 -.78 แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .84 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .36 – .73 แบบประเมินด้านกระบวนการ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .82 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .25 –.91 แบบประเมินด้านผลผลิต ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .93 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .25 -.77 แบบประเมินความพึงพอใจ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง .56 -.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D.=1.09) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบริบท ( = 4.22, S.D.=1.03) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต ( = 4.13, S.D.=1.11) ด้านปัจจัยนำเข้า ( = 4.07, S.D.=1.11) และ ด้านกระบวนการ ( = 4.07, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่า ผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.22, S.D.=1.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ( = 4.63, S.D.=0.78) รองลงมา คือ สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ( = 4.53, S.D.=0.85) และสอดคล้องกับความต้องการนักเรียน ( = 4.28, S.D.=0.99) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีจำนวนพอเพียง ( = 4.19, S.D.=1.06) รองลงมา คือ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม ( = 4.10, S.D.=1.09) และบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมมีความเหมาะสม ( = 4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     4. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.07, S.D.=1.12) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กำหนดบทบาทหน้าที่คณะกรรมการกิจกรรมชัดเจน ( = 4.19,S.D.=1.06) รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ( =4.10,S.D.=1.12)และมีการวางแผนการดำเนินกิจกรรมที่ชัดเจน ( =4.08, S.D.=1.08) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     5. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ด้านผลผลิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=1.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( = 4.70, S.D.=1.05) รองลงมา คือ การบริหารจัดการ ( =4.19, S.D.=1.06) และโครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน( =4.10, S.D.=1.12) ตามลำดับ โดยมีค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
     6. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล เมืองขลุง ๒ เทศบาลเมืองขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.10, S.D.=1.10) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ผลการประเมินข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สุขศึกษาในโรงเรียน ( =4.20, S.D.=1.13) รองลงมา คือ โครงการร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน ( =4.15, S.D.=1.12) และการส่งเสริมสุขภาพบุคคลในโรงเรียน ( =4.10, S.D.=1.05) ตามลำดับ โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรวมค่อนข้างต่ำ แสดงว่าผู้ตอบแบบประเมินส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยรวมสอดคล้องกัน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^