LASTEST NEWS

31 ก.ค. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับสมัครพนักงานราชการ 18 อัตรา ตั้งแต่ 6-27 สิงหาคม 2567 31 ก.ค. 2567เมืองพัทยา รับสมัครพนักงานจ้าง จำนวน 178 ระหว่างวันที่ 1-9 สิงหาคม 2567  31 ก.ค. 2567มาแล้ว!! ลิงก์เว็บไซต์ตรวจสอบรายชื่อ และพิมพ์บัตรประจำตัว สอบใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 2 ปี 2567 30 ก.ค. 2567โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 2-8 สิงหาคม 2567 30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เชิงรุกของครู

usericon

ชื่อเรื่อง :     การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้าง
        สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้วิจัย     :     นางประคอง รัศมีแก้ว ผู้อำนวยการ วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
         โรงเรียนบ้านหนองแหน
ปีการศึกษา :     2562

    การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) การประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน
ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และครูผู้สอน โรงเรียนบ้านหนองแหน จำนวน 9 คน
ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้แก่ครูที่สมัครเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ แบบประเมินความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและทักษะการจัดการเรียน การสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก และด้านเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แหล่งข้อมูลได้แก่ครูที่สมัครเข้าร่วมดำเนินการ จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมินมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
     1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ได้แก่ การเรียนรู้ร่วมกัน วิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายร่วม ทีมงานร่วมแรงร่วมใจ หรือร่วมมือร่วมพลัง ร่วมเป็นผู้นำ การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพ ชุมชนกัลยาณมิตร และโครงสร้างสนับสนุนชุมชน และการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้แก่ ด้านความรู้ ด้านความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และด้านเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
     2. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน     จากการศึกษารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาการ กระบวนการ และการวัดและประเมินผล (2.1) ผลการประเมินความความเหมาะสมของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
    3. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (3.1) ผลการเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน โรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ก่อนการอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกมีค่าเฉลี่ย 10.73 หลังการอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีค่าเฉลี่ย 18.17 (3.2) ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอน โรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีผลการประเมิน อยู่ในระดับมาก และ (3.3) ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก โดยครูผู้สอน โรงเรียนใน สหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีเจตคติ อยู่ในระดับมาก

     4. ผลการประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยครูผู้สอนโรงเรียนในสหวิทยาเขตทัพหลวงแจงงาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^